การแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุ ของผู้ใช้ภาษาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • วาริด เจริญราษฎร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การแปรคำศัพท์, คำกริยา, ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา และ 2) วิเคราะห์แนวโน้มการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุ ของผู้ใช้ภาษา ประชากรในการวิจัยได้แก่ผู้ใช้ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) เป็นภาษาแม่ ในหมู่บ้านเจ๊ะเห ตำบล เจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นสามระดับอายุ ระดับอายุละ 10 คน รวมเป็น 30 คน ได้แก่ ระดับช่วงอายุที่ 1 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ 35-50 ปี และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก 10-25 ปี โดยใช้หมวดคำกริยา จำนวน 100 หน่วย อรรถเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะการแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา มี 5 ลักษณะ ดังนี้ หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับอายุใช้ เหมือนกัน ซึ่งศัพท์ที่ใช้เป็นคำศัพท์เก่าทั้งหมด พบจำนวน 11 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างระดับ อายุที่ 1 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ และระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ ใช้ศัพท์เก่าเหมือนกัน พบจำนวน 44 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก ใช้ศัพท์เก่าและ ศัพท์ใหม่เหมือนกัน จำนวน 38 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับอายุใช้ศัพท์แตกต่างกัน พบจำนวน 5 หน่วยอรรถ, หน่วยอรรถที่กลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับช่วงอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก ใช้ศัพท์ใหม่เหมือนกัน พบจำนวน 3 หน่วยอรรถ 2) แนวโน้มการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษาคือ มีศัพท์ที่มีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะกลุ่มตัวอย่างทั้งสามระดับอายุ ยังคงใช้ศัพท์เก่าเหมือนกัน, มีศัพท์ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพราะปัจจุบันผู้บอกภาษาระดับ อายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับอายุที่ 3 กลุ่มวัยเด็ก มีการนำศัพท์ใหม่มาใช้ร่วมหรือใช้แทนศัพท์เก่า, มีศัพท์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างระดับอายุที่ 2 กลุ่มวัยผู้ใหญ่ และระดับอายุที่ 3 กลุ่ม วัยเด็ก ได้นำศัพท์ใหม่มาใช้แทนศัพท์เก่า

References

กรมศิลปากร. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดนราธิวาส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ครื่น มนีโชติ. (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จริญญา ธรรมโชโต. (2544). “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้สองกลุ่มอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง”. วารสารปาริชาต 13 (2), น. 37-45.

จุฑาฎา เทพวรรณ. (2555). การแปรและธำรงคำศัพท์ของผู้พูดสามระดับอายุที่ใช้ในชุมชนเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2559). การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตามอายุ : การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น. ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.นิภาพรรณ ศรีพงษ์. (2551). หลักภาษาไทย. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี. (2541). สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทถิ่น. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531). ภาษาถิ่นตระกูลไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรนันท์ อักษรพงษ์. (2539). ภาษาไทย 4. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริรัตน์ ชูพันธ์. (2547). การแปรของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยตามถิ่นที่อยู่และอายุของผู้พูด.ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายัญ สวมทอง. (2544). คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นของคนสามระดับอายุ ในตำบลควนธานี อำเภอกันตังจังหวัดตรัง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. (2561). สำนวนภาษิตและคำในภาษาตากใบ ที่ใช้ร่วมกับคำในภาษามลายู. นราธิวาส : ม.ป.ท.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2548). ระบบคำภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2542). ภาษาในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลิกร การัยภูมิ. (2540). การเปลี่ยนแปลงการใช้คำในภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดนครศรีธรรมราชตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads