รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7

ผู้แต่ง

  • ธนิกา กรีธาพล สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูกลุ่มละ 369 คนได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) และกลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษาที่ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม จำนวน 16คน โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1)ระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนรองผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครูมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษามี ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับมาก2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเตรียมการพัฒนา ส่วนที่ 2 กระบวนการ พัฒนาและส่วนที่3 ภารกิจ10 ภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษาและ3)การประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการพัฒนามีความเหมาะสม มากที่สุด ส่วนผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่ารูปแบบการพัฒนา มีความเป็นไปได้ความเหมาะสม และความมีประโยชน์ในระดับมากที่สุด

References

ดวงทิพา พุ่มไม้. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

เศรษฐ์คุณทาบุตร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัย-
ธรรมาธิราช.

สิริธร วิชิตนาค. (2555). คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา : ตาม
ความคาดหวังของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ค้นคว้า
อิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สลิลทิพ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้ : รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่า
ความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานมาตรฐานการเรียนรู้.

Dubrin, A.J. (2010). Principle of Leadership. 6th ed. Canada. Outhwestern, Cengage.

McCall, M. W. (2010). Peeling the onion: Getting inside experience-based leadership
development. Industrial & Organizational Psychology. 3( 1), pp. 61-68.

Stufflebeam, D.L. (2000). Empowerment evaluation, objective evaluation, andevaluation
standard : Where future of evaluation should not go and When it needs to go.
Retrieved June20,2015, from http://aje:sagepub.com/AmericanEvaluation Association.

Downloads