ผลของการฝึกสติและคิดบวกที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัย ของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สติ, คิดบวก, สุขภาวะเชิงอัตวิสัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกสติและคิดบวกต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ30คน ทั้ง2กลุ่มได้รับการทดสอบด้วยแบบวัดสติและสุขภาวะก่อนและหลังการทดลอง หลังจากนั้นกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกสติและคิดบวกทุกวัน วันละ30 นาทีก่อนเข้าทำงานเป็นเวลา8สัปดาห์ในการวิจัยนี้ใช้แบบวัดสุขภาวะเชิงอัตวิสัยด้านความพึงพอใจในชีวิตและด้านความรู้สึกทางบวกและทางลบ และแบบวัดสถิติPhiladelphia Mindfulness Scale โดยมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชอยู่ที่ 0.820, 0.826และ0.855ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าt-testผลการวิจัยพบว่าสุขภาวะเชิงอัตวิสัยด้านความ พึงพอใจในชีวิต สุขภาวะเชิงอัตวิสัยด้านความรู้สึกทางบวกและทางลบและสติก่อนและหลังการทดลองของ กลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า0.01(t=4.28),0.01(t=6.05)และ 0.01(t=2.73)ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง พบว่าทั้งสามด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าคะแนนความแตกต่างก่อนและหลังการทดลอง (Gainscore)ของสุขภาวะเชิงอัตวิสัยด้านความพึงพอใจในชีวิตสุขภาวะเชิงอัตวิสัยด้านความรู้สึกทางบวกและทางลบ และสติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า0.01(t=4.44) ,0.01(t=3.18) และ 0.01(t=3.61) ตามลำดับ

References

ไกรฤกษ์ ศิลาคม และหัสดิน แก้ววิชิต. (2560). ผลของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อสุขภาพจิต
และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัย
นครพนม. 7(1), หน้า 16.

งามตา วนินทานนท์ และอุษา ศรีจินดารัตน์(2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป
การศึกษาสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและโรงเรียนที่มีผลต่อความสุขใจและพฤติกรรม
การเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : การวิจัยช่วงยาวหลายระยะ. (รายงานการวิจัย
ฉบับที่ 120). กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุฑามาส โหย่งไทย. (2558). ปัจจัยส่วนบุคคลและความคิดเชิงบวกที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
ของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิราพร เวชวงศ์ และสุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน. (2560).ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อความอยู่ดีมีสุขเชิง
อัตวิสัยของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 11(2), หน้า 25.

ปิยะวัฒน์ วิริยะสุนทราพร. (2555). ความคิดเชิงบวกที่พยากรณ์ความสุขในการทำงานของพนักงาน.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 30.
กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร :
สหธรรมิก.
ยงยุทธ วงค์ภิรมย์ศานติ์. (2557). สร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization: MIIO).
นนทบุรี: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

เรวดี วัฒฑกโกศล และพรรณระ พีสุทธิวรรณ. (2559). การพัฒนากิจกรรมการคิดทางบวกเพื่อสร้างเสริม
การคิดทางบวกและความสุขของนิสิต. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 9(2), หน้า 76-86.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.

สุดารัตน์ รัตนเพชร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางจิตวิญญาณ สติ และความสุขตามแนวทาง
พุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวรรณา สุ่มเนียม และสุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์. (2559). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผล
ต่อประสิทธิผลการทำงานของครูอาชีวศึกษา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.10(2), หน้า48-61.
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ. (2531). แด่เธอผู้รู้สึกตัว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มเทียนสว่างธรรม.
. (2537). คู่มือการทำความรู้สึกตัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มูลนิธิหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ
(พันธ์อินทผิว) และวัดสนามใน.

Atkinson, R. C., & Shiffrin, R. M. (1968). Human memory: A proposed system and its control
processes. The Psychology of Learning and Motivation. 2, pp. 89-195.

Buzan, T. (1995). Use Your Head. London : BBC. Books.

Bazarko, D., Cate, R. A., Azocar, F., & Kreitzer, M. (2013). The Impact of an Innovative
Mindfulness-Based StressReductionProgram onthe Healthand Well-Beingof Nurses
Employed in a Corporate Setting. Journal of Workplace Behavioral Health, 28(2),
pp. 107-133.

Cardaciotto, L.A. (2019). A Web-based self-guided program to promote valued-.
living in college students: A pilot study. Journal of Contestual Behavioral Science.
12 April 2019. DOI: 10.106/jcbs.2019.01.004.

Carmody, J., & Baer, R. (2008). Relationships between mindfulness practice and levels of
mindfulness, medical and psychological symptoms and well-being ina mindfulness-
based stress reduction program. Journal of Behavioral Medicine. 31(1), pp. 23-33.

Coo, C., & Salanova, M. (2018). Mindfulnesscanmakeyouhappy-and-productive: A Mindfulness
controlled trial and its effects on happiness, work engagement and performance.
Journal of Happiness Studies: An Interdisciplinary Forum on Subjective
Well-Being. 19(6), pp. 1691-1711.

Diener, E. (2000). Subjective Well-Being. The Science of Happiness and a Proposal for a
National Index. American Psychologist.55.

Helliwell, J. F., Layard, R., & Sachs, J. D. (2018). World Happiness Report 2018, New York :
Oswald, A., J., Proto, E., & Sgroi, D. (2015). Happiness and productivity, Journal of Labor
Economics. 33 (4), pp. 789-822.

Parto, M., & Besharat, M. A. (2011). Mindfulness, psychological well-being and psychological
distress in adolescents: Assessing the mediating variables and mechanisms of
autonomy and self-Regulation. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 30,
pp. 578-582.

Seligman, M.E.P. (1990). Learning Optimism. New York: pocket Books.

Shapiro, S. L., Oman, D., Thoresen, C. E., Plante, T. G., & Flinders, T. (2008). Cultivating
mindfulness :effectson wellbeing. Journal of Clinical Psychology.64(7), pp.840-862.

Sirois, F. M., & Tosti, N. (2012). Lost in the moment? An investigation of procrastination,
mindfulness, and well-being, lost inthe moment? Aninvestigationof procrastination,
mindfulness, and well-being. Journal of Rational - Emotive & Cognitive-Behavior
Therapy. 30 (4), pp. 237–248.
Sustainable Development Solutions Network.

Kabat-Zinn, J. (1994). Wherever You Go, There You Are: Mindfulness Meditation in
Everyday life. New York : Hyperion.

Lee, W. K., & Bang, H. J. (2010). The effects of mindfulness-based group intervention on
the mentalhealthof middle-aged Korean womenincommunity. Stress and Health.
26(4), pp. 341-348.

Downloads