บทบาทการอบรมสั่งสอนประชาชนให้ห่างไกลจากอบายมุข ของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14 ทั้งมหานิกายและธรรมยุต
คำสำคัญ:
การอบรมสั่งสอน, อบายมุข, พระสังฆาธิการ, การปกครองคณะสงฆ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการอบรมสั่งสอนประชาชนให้ห่าง ไกลจากอบายมุข จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายบทบาทการอบรม สั่งสอนประชาชนให้ห่างไกลจากอบายมุข กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 298 รูป โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การทดสอบค่าที(t-test)การ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA)และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุการศึกษาแผนกนักธรรม การศึกษา แผนกบาลีการศึกษาแผนกสามัญ และตำแหน่งทางคณะสงฆ์ของกลุ่มตัวอย่างต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน ในบทบาทการอบรมสั่งสอนประชาชนให้ห่างไกลจากอบายมุขส่วนพรรษาและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ต่างกัน มีความแตกต่างกันในบทบาทการอบรมสั่งสอนประชาชนให้ห่างไกลจากอบายมุขอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และ 2. ปัจจัยด้านอิทธิบาท 4 สามารถทำนายบทบาทการอบรมสั่งสอนประชาชนให้ห่าง ไกลจากอบายมุข ร้อยละ 54.9
References
ชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมสุขภาพจิต. (2556).สถิติผู้ป่วยทางจิต. ค้นเมื่อ18 พฤษภาคม 2557,จากhttp://www.dmh.go.th/sty
. (2546). คู่มือการดำเนินงานวัดเป็นศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). นโยบายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยใช้สถาบันทางศาสนา.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
. (2544). พระพุทธศาสนามรดกล้ำค่าของไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
กัลยา วานิชบัญชา. (2548). การใช้สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม :
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิภา เมธธาวีชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
ประเวศ วสี. (2540). พระสงฆ์กับการเรียนรู้เท่าทันสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.
ปริญญ์จงวัฒนา. (2550). พุทธธรรมเพื่อกัลยาณมิตร.กรุงเทพมหานคร:ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.
พระธรรมปิฎก. (2541). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน. (2555). หลักการเว้นอบายมุข. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2557, จาก
http://ebook.nfe.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว