ความพร้อมต่อการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ผู้แต่ง

  • มานิตย์ กุศลคุ้ม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, ระบบสารสนเทศ, ความพร้อมของบุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของบุคลากร ปัญหาและอุปสรรคในการใช้งานระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์และแนวทางในการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ธนบุรีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ โดยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีความพร้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.80 ด้านที่มี ความพร้อมที่สุดคือความรู้ในการใช้งาน ค่าเฉลี่ย3.91ส่วนด้านที่มีความพร้อมน้อยที่สุดคือการรับรู้ต่อการ ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ค่าเฉลี่ย 3.65 2) ปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.51 ปัญหาที่ พบมากที่สุดคือ ขาดทักษะในการใช้งานหนังสือเวียน ค่าเฉลี่ย 3.82 ปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือการเข้าใช้ระบบ รหัสผ่านไม่สามารถเข้าใช้งานในครั้งเดียว ค่าเฉลี่ย 3.35 นอกจากนี้ยังพบว่าอุปสรรคในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.30 โดยพบอุปสรรคมากที่สุดคือความล่าช้าในการดาวน์โหลดเอกสาร ค่าเฉลี่ย 3.82 อุปสรรคที่พบน้อยที่สุด คือ การตรวจสอบการลงนามเอกสาร มีความซับซ้อน ค่าเฉลี่ย 2.67 3) แนวทางใน การพัฒนา คือการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมให้บุคลากรเห็นถึงประโยชน์ ของระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ 

References

เกรียงไกร อัศวรัตน์. (2545). ระบบบริหารงานสารบรรณกรมป่าไม้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นฤทธิ์ มัยรัตน์. (2549). สภาพปัจจุบันสภาพขั้นต่ำที่ยอมรับได้ และความคาดหวังเกี่ยวกับการใช้
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวง
คมนาคม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ปริศนา มัชฌิมาและคณะ. (2555).รายงานการวิจัย เรื่องพฤติกรรมและประสิทธิภาพการใช้ระบบสารบรรณ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2557,
จาก http://dusithost.dusit.ac.th/prisana_mut/eport/RESEARCH/E_office.pdf
พิมพ์ชนกอินปาน. (2555). การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักบริหารกลาง กรมทางหลวง
ชนบท. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีกองนโยบายและแผน. (2558). แผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) ปี 2548. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2557,
จาก https://drive.google.com/ file/d/0B7LY_dpOdEDBT 1hUOG43bEpzMW8/view
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
2554–2550. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2557, จาก www.opdc.go.th/uploads/files/46_50.pdf

เสาวนีย์ ภู่เพชร. (2552). ทัศนคติของพนักงานต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษาธนาคารออมสิน
สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads