การสร้างแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การสร้างแบบวัด, ปกติวิสัย, แบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัด ได้แก่ความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยและประเมินผลการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ของแบบวัดการรู้เรื่อง ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่6ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา2561 จำนวน 132โรงเรียน จำนวน 2,465คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3กลุ่ม กลุ่มที่1จำนวน 100คนสำหรับการทดลองครั้งที่1เพื่อ ตรวจสอบคุณภาพหาความยากอำนาจจำแนกและความเที่ยงของแบบวัดกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่2จำนวน 150 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดด้านความตรงเชิงสภาพ ความยากอำนาจจำแนกและความเที่ยงของ แบบวัดและกลุ่มตัวอย่างที่3จำนวน 400คน เป็นกลุ่มที่เป็นส่วนในการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยและประเมินผล การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์รวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งหมด650คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิผล การวิจัย พบว่า1)ผลการสร้างแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ได้เป็นข้อสอบอัตนัยแบบสถานการณ์จำนวน 12ข้อภายใต้5สถานการณ์2)ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์พบว่าแบบวัดการ รู้เรื่องทางคณิตศาสตร์มีค่าความยากและอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.36-0.63 และ 0.43-0.77 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทั้งฉบับ แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีดัชนี ความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50-1.00 แบบวัดมีความตรงเชิงสภาพ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เท่ากับ 0.89แบบวัดมีความเที่ยงอยู่ในระดับสูงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.96และมี ความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจให้คะแนนสูง โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ให้คะแนน เท่ากับ 0.95 3)ผลการ สร้างเกณฑ์ปกติวิสัย(Norm)ของคะแนน แบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 พบว่าคะแนนดิบอยู่ในช่วงตั้งแต่ 2-28 และคะแนนที(t) ปกติอยู่ในช่วงตั้งแต่ 22-75 คะแนน ผลการประเมินการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ของแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำมาก มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 4.25
นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ มีจำนวน 89คน คิดเป็นร้อยละ22.25 นักเรียนที่มีการรู้
เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง มีจำนวน 164คน คิดเป็นร้อยละ41.00 นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทาง
คณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูง มีจำนวน 107คน คิดเป็นร้อยละ 26.75 นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่
ในระดับสูงมาก มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.75
References
ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษามหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
ชวาล แพรัตกุล. (2520). เทคนิคการวัดผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.
ฐิตินันท์ ตันทะรา. (2555) การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและ
ประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ต่าย เซี่ยงฉี. (2526). เอกสารคำสอนกระบวนวิชา ศว.270 : ทฤษฎีการทดสอบและวัดผลการศึกษา.
เชียงใหม่ : ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บัญชาแสนทวี. (2560).การเตรียมความพร้อมต่อการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์สู่อาเซียน : กรณีคะแนน
PISA และ O-NET. ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2561, จาก www.nstda.or.th.
ประภาสร เทพแก้ว. (2554). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณ์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ตามแนวคิด
การจัดการศึกษาเชิงคุณลักษณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการวัดและประเมินผล
การศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร :
สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ไพรัช วงศ์ศรีตระกูล. (2551). การเสริมสร้างการรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหา การให้เหตุผลและ
การสื่อความหมาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ภูพันธ์ รัตนจักร. (2542). การสร้างแบบทดสอบอัตนัยสำหรับการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องเซ็ต
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัดผลและประเมินผล
การศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รวงทิพย์ ในพรม. (2548). การสร้างแบบทดสอบวัดลักษณะความเป็นผู้มีสติสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผล
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ล้วน สายยศและอังคณาสายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคร:คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
. (2541). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพมหานคร :
สุวีริยาสาส์น.
ศิริชัยกาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพมหานคร:คณะครุศาสตร์,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์
การอ่าน และวิทยาศาสตร์นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
. (2557). ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012. กรุงเทพมหานคร : วี.เจ.พริ้นติ้ง.
. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศ
และความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสพับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. นครนายก:
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 7/ 2561, กลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห ่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561, จาก www.nesdb.go.th/
Default.axpx? tabid395.
สุชาดา ปัทมวิภาต. (2557). การประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของ PISA 2015. สสวท. 42(188),
หน้า 35-39.
สุรีรัตน์ บุญสุข. (2551). การสร้างแบบวัดลักษณะความเป็นหญิงในเพศชายและลักษณะความเป็นชายใน
เพศหญิง ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของจุง สำหรับวัยรุ่นอายุ 13-18.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรรจนีย์ ชูช่วยสุวรรณ. (2552). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผล
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำพร จุลพล. (2550). การสร้างแบบทดสอบอัตนัยเพื่อวินิจฉัยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Burry-Stock, J.A., Laurie, C., Chissom, B.S., & Shaw, D.G. (1996). Rater Agreement Indexes
for performance assessment. Educational and Psychological measurement.
Garrett, H. E. (1965). Testing for Teachers. New York : Van Nostrand Reinhold.
Gronlund, N.E. (1976). Measurement and Evaluation in Teaching. New York : Macmillan.
Organization for Economic Co-operation and Development. (2016). PISA 2015 Assessment
and Analytical Framework : Science, Reading, Mathematic and Financial Literacy.
PISA : OECD publishing Paris.
Rovinelli, R., & Hambleton, R. K. (1973). Some Prodedures for the Validation of CriterionReferenced Test Items : Final report. Alberng : Bureau of school and cultural
research, New York State Education Department.
Thorndike, R.L., & Hagen, E.P. (1977). Measurement and Evaluation in Psychology and
Education. New York : John Wiley.
Whitney, D.R., & Sabers, D.L. (1970). Improving Essay Examinations III. Use of Item
Analysis, Technical Bulletin 11. Mimeographed. Iowa City, University Evaluation
and Examination Service.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว