การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรสา มาสิงห์ สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21, ทักษะการสื่อสาร, ทักษะการจูงใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ1)ศึกษาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา 2) สร้างแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา3) ประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา365คน และหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ365คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) และกลุ่มที่ทดลองใช้แนวทางการพัฒนาที่สร้างขึ้นได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา หนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 15 คน ซึ่งมีสถานศึกษาทั้งหมด 15 สถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษา มีระดับการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด4 ทักษะได้แก่ ทักษะมนุษยสัมพันธ์ ทักษะการวางแผน ทักษะการสร้างทีมงาน และทักษะการแก้ปัญหา ทักษะที่มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มี2 ทักษะคือ ทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจส่วนความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจมากที่สุดเป็นสองอันดับแรก2)แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้วิธีการพัฒนาด้วยตนเอง และ 3) การประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษาจากการทดลองใช้แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน พบว่า มีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

References

กาญจนา ศิลา. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิลัญ ปฏิพิมพาคม. (2550).รูปแบบภาวะผู้นำและประสิทธิผลของผู้นำบริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลัดดาวัลย์เพชรโรจน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.

เสรีรัตน์การะเกตุ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการ
จัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2.
วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม. 4 (2), หน้า 57.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558).การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษา. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์
2558, จาก http://www.obec.go.th/documents/61265

Dubrin, A.J. (1995). Leadership Research Findings,Practice and Skill. 4thed. New York :
Houghton Mifflin.

McCall, M.W. (2010). Peeling the onion : getting inside experience-based leadership
development. Industriol Et Orgoni Zotional Psychology. 3,(1), pp. 61-68.

McCauley, C.D., Russ, S. Moxley, & Ellen, V.V. (1998). The Handbook for leadership
Development. San Francisco : Jossey- Bass.

Truelove,S. (1992). Handbook of Taining and Development (Human Resource Management
in Action Ser.) Oxford : Blackwell.

Wentling,T. (1992). Planning for effective Taining : A Guide to Curriculum Development.
Rome : FAO.

Downloads