การพัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ใน การสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ
คำสำคัญ:
การเคลื่อนที่แบบกลิ้ง, การสอน, การสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1. เพื่อพัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ในการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาทั้งก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้งภายในและระหว่าง (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง) 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลองต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ในการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นปีที่1 ในรายวิชาฟิสิกส์ทั่วไปจำนวน 117คน (กลุ่มควบคุม 51คน และกลุ่มทดลอง66คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ในการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยมีดังนี้1. ชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ในการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์โดยใช้รางสแตนเลสเพื่อความทนทาน พร้อมวัตถุกลิ้ง 4 ชิ้น 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ของผลสัมฤทธิ์หลังเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แสดงว่าชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ในการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์มีส่วนช่วยพัฒนาความรู้ผู้เรียน 3. ผู้เรียนให้ความพึงพอใจเฉลี่ยของกลุ่มทดลองในระดับมากในทุกข้อ (คะแนนเฉลี่ย 3.84) กับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดทดลองการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบกลิ้งเพื่อใช้ในการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์
References
เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 5. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. หน้า 1996- 2005.
พรรัตน์ วัฒนกสิวิชช์. (2555). การสาธิตประกอบการบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์. วารสารฟิสิกส์ไทย, 28(4),
หน้า 29-33.
มัทยาภรณ์ รังษีคาร และสาคร อัฒจักร. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้แบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์โดยใช้
ชุดกิจกรรมเรื่องงานและพลังงานเพื่อส ่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความฉลาด
ทางสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปีที่ 10 (พิเศษ), หน้า 657-671.
รุจิรา ราชรักษ์ และโชคศิลป์ธนเฮือง. (2558). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนเรื่องแรงและ
การเคลื่อนที่โดยใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์. ใน การประชุมทาง
วิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 ปี 2558. หน้า 389-395. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วันเพ็ญ รังคพุทธมานะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดของโพลยาร่วมกับการใช้เทคนิค
ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10(1), หน้า 22-34.
ศรัณย์รัชต์ ศุภรณ์พานิช. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกับการเรียน
แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 7(2), หน้า 32-41.
สุระ วุฒิพรหม และฉวีวรรณ ชัยวัฒนา. (2554). การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์วิชาฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัย
เพื่อพัฒนาความเข้าใจแนวคิดเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 2(1), หน้า 39-47.
Jewett, Jr. W., & Serway, R. A. (2010). Physics for Scientists and Engineers with Modern
Physics. 8th ed. USA : Brooks/Cole.
Mungan, C. E. (2012a). Conceptual and laboratory exercise toapply Newton’s second law to
a system of many forces. Physics Education. 47(3), pp. 274-287.
. (2012b). Rolling friction on a wheeled laboratory cart. Physics Education. 47(3),
pp. 288-292.
Mungan, C.E., & Emery, J.D. (2011). Rolling the Black Pearl over : Analyzing the physics of a
movie clip. Physics Teacher. 49, pp. 266-271.
Mungan, C.E., & Lipscombe,T.C. (2014). Dropping a particleoutof a roller coaster. European
Journal of Physics, 35(4), pp. 1-9.
Pejuan, A., Bohigas, X., Jaen, X., & Periago, C. (2012). Misconceptions about sound among
engineering students. Journal of Science Education and Technology. 21,
pp. 669-685.
Rimoldini, L.G., & Singh, C. (2005). Student understanding of rotatonal and rolling motion
concepts. Physical Review Special Topics–Physics Education Research. 1, pp. 1-9.
Risch, M. R. (2014). Investigation about representations used in teaching to prevent
misconceptions regarding inverse proportionality. International Journal of
STEM Education. pp. 1-4.
Jairuk, U. (2007). The use of interactive lecture demonstrations in force and motion
to teach high school–level physics. Master Thesis, Mahidol University.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว