การจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในเขตตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จันทนา อินทฉิม สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการ, ชุมชนเข้มแข็ง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitativeresearch) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาระดับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาระดับการนำแนวคิดปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ของประชาชนใน เขตตำบลบางปลาอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตตำบลบางปลา อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าที ค่าเอฟ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนตำบลบางปลาอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( x =3.63 S.D. = 0.09) 2) ผลการศึกษาระดับ การนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พบว่าอยู่ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( x =3.67 S.D.=0.06) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านกระบวนการเรียนรู้ มีค่า เฉลี่ย ( x =3.69 S.D.=0.03)ด้านการพึ่งพาตนเอง มีค่าเฉลี่ย( x =3.68 S.D.= 0.08)และด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย ( x =3.64 S.D.= 0.09) 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจแนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=0.403) เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชน คือ ด้านการพึ่งพาตนเอง (r=0.448) ด้านการมีส่วนร่วม (r=0.403) และด้านกระบวนการเรียนรู้ (r=0.359) มีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง เป็นไปในทิศทางบวก

References

กฤษณ์รักชาติเจริญ. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารรัฐ. กรุงเทพมหานคร : ทีเอ็มปริ้นติ้ง.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2547). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพมหานคร :
สํานักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 42 (6),
หน้า 41-47.

ชลธีเจริญรัฐ. (2547). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ตำบลหนองไฮ
อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 7 (7), หน้า19-24.

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปาริชาติวลัยเสถียร และคณะ. (2546). เอกสารประกอบการศึกษาวิชาสังคม 651 : ทฤษฎีและหลักการ
พัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญศรีเปลี่ยนขำ. (2550). วิถีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก. 2 (1), หน้า 27.

ไพศาล เนาวะวาทอง. (2551). การจัดการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาหมู ่บ้านคำปลาหลาย ตำบลบ้านดงอำเภออุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น.
วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 4(2), หน้า38-49

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553). กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง : รูปแบบปัจจัยและตัวชี้วัด.


วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 8 (2), หน้า 119-158.

ศิริพร ศีติสาร. (2551). การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ของครูโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สัญญาสัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร : เอมีเทรดดิ้ง.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร :
สามเจริญพาณิชย์.
สาวิณีรอดสิน. (2554). ชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปางจำปี ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน
จังหวัดเขียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2544). การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 48(1), หน้า 7.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development
Committee Center for International Studies. New York : Cornell University.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychologicaltesting. 5th ed. New York: Harper Collins.
Fonchingong, C., & Fonjong, L. (2002). The concept of self-reliance in community disruption
initiatives in the Cameroon grassfires. Geo Journal. 57(1), p. 2.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill.

Nonaka & Ikujiro. (2001). Classic Work: Theory of Organizational Knowledge Creation. In
Knowledge Management : Classic and Contemporary Works. Morey, Daryl et al.
London : The MIT Press.

Sallis, E., & Jones, G. (2002). Knowledge Management in Education. London : Kogan page.
White, A. T. (1982). Why Community Participation?, A Discussion of the Argument go,
(Community Participation : Current Issue and Lesson Learned. N.P. : United Nations
Children’ s Fun, 1982).

Yamane, T. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper and Row.

Downloads