การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง หลักสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, บทเรียนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนตามเกณฑ์ 80/80 และหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง หลักสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับ นักศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบสำหรับหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวนข้อสอบทั้งหมด 90 ข้อ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา หลักสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 74 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่าบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.85 / 80.39 และมีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจของ ผู้เรียนต่อบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53
References
นพรัตน์ ปัญญาดิลกพงศ์. (2562). การหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเน้น ความเข้าใจจากหนังสือพิมพ์และการใช้พจนานุกรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติ สำหรับ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี. 13(1), น. 78-88.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พิมพ์วิภา มะลิลัย, ดำรัส อ่อนเฉวียง, และสุขมิตร กอมณี. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษา จีนกลาง เรื่อง พินอินด้วยกูเกิลคลาสรูม (Google Classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัยธมศึกษา ปีที่ 3. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 2(2), pp. 31-43.
วีรวิชญ์ บุญส่ง. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์ กับการเรียน แบบบรรยาย รายวิชา สศ 2202304 ประวัติศาสตร์อเมริกาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 13(1), น.100-112.
วัฒนา พลาชัย และวินัย เพ็งภิญโญ. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชาการเขียนเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” Journal for Social Sciences Research. 10(1), น. 186-200.
สมนัฏฐา ภาควิหก. (2555). การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรืออีเลิร์นนิ่งกับการเสริมสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ของประชาคมอาเซียน: นโยบายและกระบวนการ. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง National e-Learning Conference Integrating ASEAN Online Learning: Policy and Process บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเซียน: นโยบายและกระบวนการของ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. (น. 280-285). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
อนุชา สะเล็ม. (2560). การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอน วิทยาลัยเทคโนโลยี ธุรกิจมีนบุรี กรุงเทพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการและเทคโลโนยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
Francescucci, A. and Rohani, L. (2018). Exclusively Syschronous Online (VIRI) Learning : The Impact on Student Performance and Engagement Outcomes. Retrieve October 30, 2020, from: https://doi.org/10.1177/0273475318818864
Oblinger, D. G, Barone, C. A., and Hawkins, B. L. (2001). Distributed Education and Its Challenges: An Overviws. Retrieve October 30, 2020, from: https://acenet.edu/ Documents/Distributed-Education-and-Its-Challenges-An-Overviws.pdf.
Rensis, L. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว