การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม กะเหรี่ยง : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรรณวีร์ บุญคุ้ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณิต เขียววิชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์วัฒนธรรมกะเหรี่ยง, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี 2) สร้างกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนกะเหรี่ยงอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1) มรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่ การแต่งกาย และภาษา 3) ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารท้องถิ่น สมุนไพรรักษาโรค/สาธารณสุขแบบ ดั้งเดิม ศิลปะการดนตรีและการละเล่น ศิลปหัตถกรรม และการทำมาหากิน 4) สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย โดยพบการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตทั้งหมด 8 ด้าน คือ 1) การแต่งกาย 2) ที่อยู่อาศัย 3) การทำมาหากิน 4) ภาษา 5) อาหาร 6) ประเพณีและพิธีกรรม 7) การรักษาโรค และ 8) ดนตรีกะเหรี่ยง ผลจากการสร้างกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี พบว่ามี 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมจัดทำคู่มือดนตรีกะเหรี่ยง 2) กิจกรรมจัดทำคู่มือสมุนไพรกะเหรี่ยง 3) กิจกรรมจัดทำคู่มือ ภาษากะเหรี่ยง 4) การสร้างแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี 5) การสืบทอดประเพณีกินข้าวห่อ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลให้กิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ผู้นำที่ดี 2) สมาชิกในชุมชนเข้มแข็ง 3) เครือข่าย/หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุน 4) ชุมชนมีฐานทุนทางวัฒนธรรม ที่ดี 5) จิตสำนึกความเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

References

กาญจนา เกียรติมณีรัตน์. (2546). ภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองภาคเหนือ : รูปแบบการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2545). วิถีชุมชน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทดีไซน์ จำกัด.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และวันวร จะนู. (2555). แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สร้างสรรค์.

ชิตวรา บรรจงปรุ และคณะ. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการเสริมสร้างศักยภาพ ทางการแข่งขันในการประกอบการวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 12 (1), น.98-112.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

ดรัณ ยุทธวงษ์สุข. (2557). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวกะเหรี่ยงบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารเกษมบัณฑิต. 15 (2), น. 2.

ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.

ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ : การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สรรเกียรติ กุลเจริญ. (2558). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น : ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์ พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Woodward K. (1997). Identity and Difference. Calif : Sage in association with the Open University.

Wintrop R. (1991). Dictionary of Concepts in Cultural Anthropology. New York: Greenwood Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28