การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากดอกกระเจี๊ยบแดง
คำสำคัญ:
บรรจุภัณฑ์, น้ำส้มสายชูหมัก, ดอกกระเจี๊ยบแดงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความคิดเห็นและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมัก จากดอกกระเจี๊ยบแดง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ และการตลาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นการวิเคราะห์เชิง เนื้อหา (Content-Analysis) ผลการวิจัยพบว่า เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 - 40 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลาย/ปวช. รายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท และมีสถานภาพสมรส มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ของน้ำส้มสายชูหมักจากดอกกระเจี๊ยบแดง ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.04) ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ของน้ำส้มสายชูหมักจากดอกกระเจี๊ยบแดงในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.95) ในส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ควรมีการออกแบบขวดลักษณะทรงกลมแบบแก้วใส ซึ่งทำให้เห็นน้ำส้มสายชู หมักจากดอกกระเจี๊ยบแดงที่อยู่ภายในขวดได้อย่างเด่นชัด ทำให้ขนาดของขวดหยิบจับถนัดมือ ด้านการขนส่ง ควรมีการใส่วัสดุกันกระแทกใช้ในระหว่างการขนส่งเพื่อให้ขวดน้ำส้มสายชูหมักจากดอกกระเจี๊ยบแดงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และด้านลวดลาย ควรมีการใช้กราฟิกในการออกแบบลวดลายข้อมูลตัวหนังสือ และภาพประกอบ โลโก้ต้องใช้สีแดง เครื่องหมายการค้าต้องได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) หรือจากกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงการมี QR CODE
References
จักรพันธุ์ พันธุ์พฤกษ์. (2550). การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้าและกรรมวิธีการบรรจุ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2557, จาก http//www.ex-mba.buu.ac.th/Research%202556/Research_Bangkok/Y-MBA%201/53722046/05_ch2.pdf.
ดรุณี มูเก็ม. (2560). การพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์น้ำพริกกุ้งเสียบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปริง จังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(2), น. 1.
นพวรรณ ชีวอารี. (2555). การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปเพื่อส่งเสริมการขาย : กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการออกแบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นุชเนตร จักรกลม. (2557). แนวโน้มนวัตกรรมและบรรจุภัณฑ์. อุตสาหกรรมสาร. 56 (ฉบับเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน), น. 5.
ประชิด ทิณบุตร. (2557). การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ : โครงการส่งเสริมศักยภาพ ผู้ประกอบการระดับ SMEs และวิสาหกิจชุมชนเพื่อเข้าสู่ AEC จังหวัดปราจีนบุรี กระทรวง อุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยะมาศ ลุนลา. (2554). บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย และเทคโนโลยีการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). (2559). ส่องจุดอ่อน SME ไทย แก้ปัญหาเรื่อง ‘บรรจุภัณฑ์’. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ.
สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วาดศิลป์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณีย์ จิตตะปาโล และนุตประวีณ์ เลิศกาญจนวัติ. (2549). ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5). New York : Harper Collins.
Gary, R.H., & Paswan, A. (2012). Consumer reaction to new package design. Journal of Product & Brand Management Emerald. 2012(21), pp. 109-116.
Rex, J., Wai, S., & Lobo, A. (2003). An Exploratory Study into the Impact of Colour And Packaging as stimuli in the Decision Making Process for a Low Involvement Non-Durable Product. International Journal of Research in Management, Science & Technology. 4(3), p.1.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning Implementation and Control. (9 th ed). New Jersey: Asimmon & Schuster.
Wells, L.E., Farley, H. & Armstrong, G.A. (2007). The importance of packaging design for own-label food brands. International Journal of Retail & Distribution Management. 35(9), p. 677.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว