การพัฒนาระบบคลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี: การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ

ผู้แต่ง

  • นิรมล ชอุ่ม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กนก พานทอง วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ระบบคลังคำ, คำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบ คลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกคำโดยการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับเกณฑ์การคัดเลือกคำ2) การพัฒนาระบบคลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน และประเมิน ความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งาน สามารถเข้าถึงได้ที่ www.thai-nbw.com ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การคัดเลือกคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) คำที่มี ความหมายชัดเจน 2) คำที่ไม่ใช้เฉพาะกลุ่ม 3) คำที่คุ้นเคย และ 4) คำที่ไม่มีความคลุมเครือ 2. ระบบคลัง คำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันซึ่งบรรจุคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 203 คำที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา ดังนี้ 1) คำที่มีความหมายชัดเจน จำนวน 59 คำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96 2) คำที่ไม่ใช้เฉพาะกลุ่ม จำนวน 40 คำมีค่าดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 3) คำที่คุ้นเคย จำนวน 60 คำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.97 และ 4) คำที่ไม่มีความคลุมเครือ จำนวน 44 คำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 ระบบคลังคำทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และมีความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งานอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

เลอลักษณ์ โอทกานนท์. (2561). มหาวิทยาลัย 4.0: การศึกษาเชิงผลิตภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (3), น. 249-265.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2), น. 2843-2854.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 8(1), น. 1-17.

อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์.

อุษา ส่งศรี, จรัส อติวิทยาภรณ์ และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2560) การรับรู้และพฤติกรรมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(2), น. 76-87.

Choi, B.C.K., & Pak, A.W.P. (2005). A Catalog of Biases in Questionnaires. Preventing Chronic Disease. 2(1), pp. 1-13.

Krosnick, Jon A. and Presser, Stanley. (2018). Questionnaire Design. in J. D. Wright and P. V. Marsden. (editor). Handbook of Survey Research. (pp. 263-314). West Yorkshire, UK: Emerald Group.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. (pp.90-95). Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son. Meadows, K. A. (2003). So you want to do research? 5: Questionnaire design. British Journal of Community Nursing, 8(12), pp. 562–570.

Singh, D., Thakur, A., & Chaudhary, A. (2015). A comparative study between waterfall and incremental software development life cycle model. International Journal of Emerging Trends in Science and Technology, 2(4), pp. 220-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28