การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา

ผู้แต่ง

  • ญาณีรัตน์ หาญประเสริฐ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนการสอน, โครงงานเป็นฐาน, ทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมด้วยโครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความรู้ของผู้เรียนระหว่าง ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยโครงงานเป็นฐาน โดยนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งสุ่มเป็นกลุ่มแบบ Cluster Sampling จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษาได้มา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนกิจกรรม 5 ขั้นตอนได้แก่ กำหนดประเด็นปัญหา วางแผน ลงมือปฏิบัติ เขียนรายงาน และนำเสนอผลงาน ทุกกลุ่มเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินความสอดคล้องด้านทักษะกระบวนการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษาที่ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.93 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ทิศนา แขมมณี. (2549). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2546). กระแสการศึกษาใหม่ต้องเป็นไปเพื่อผลผลิตนิยมเชิงสร้างสรรค์ในการเรียนการสอนที่มีวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้.กรุงเทพมหานคร : บริษัท สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง จำกัด.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิควิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2558, จาก https://www.scbfoundation.com/stocks/c4/file/1369650143-Tvgvlc4.pdf.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2547-2560). การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2558, จาก http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/new-gen/262/.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. New York: Addison Wesley Longman.

Bransford, J. Brown, A., & Cocking, R. (Eds). (2000). How people learn: Brain, Mind, Experience, and School (Expanded Edition). Washington, DC: National Research Council, National Academy Press.

John, W. Thomas, (2000). A Review of Research on Project-Based Learning. Supported by The Autodesk Foundation 111 McInnis Parkway San Rafael, California 94903,Retrieved December 19, 2015, from http://www.bie.org/research/-study/review_of_project_based_learning_2000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28