การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถ ในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้ RUCES MODEL

ผู้แต่ง

  • ภัทราภรณ์ ช้อยหิรัญ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (การสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บุษบา บัวสมบูรณ์ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กมล โพธิเย็น ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, ทฤษฎีการรื้อสร้าง, วิธีการเรียนรู้แบบสแกฟโฟลด์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านตีความ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้ RUCES MODEL 2. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียน รู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้ RUCES MODEL 2.1 เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ที่เรียนด้วยรูปแบบ การเรียนรู้โดยใช้ RUCES MODEL ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ 2.2 ศึกษาความพึงพอใจ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านตีความ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้ RUCES MODEL การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบบแผน การวิจัยเชิงทดลองขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษากลุ่มทดลองแบบกลุ่มเดียวที่วัดด้วยแบบทดสอบก่อนและหลัง การทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน ตีความ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้ RUCES MODEL ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานที่กำหนดโดยผู้พัฒนารูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนวรรณศิลป์ ขั้นที่ 2 ยลยินเนื้อหา ขั้นที่ 3 นำพาความคิด ขั้นที่ 4 พินิจรื้อคำ ขั้นที่ 5 สรุป นำความเข้าใจ และ 4) การประเมินผล 2. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 2.1 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนน ความสามารถในการอ่านตีความหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.2 ความพึงพอใจของนักศึกษา พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด

References

กมล โพธิเย็น. (2547). รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านทักษะ การเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการ แบบสแกฟโฟลดิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา คุณารักษ์. (2552). การออกแบบการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โกชัย สาริกบุตร. (2520). การอ่านภาคปฏิบัติ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์กลางเวียง.

โกชัย สาริกบุตร. (2521). การอ่านขั้นใช้วิจารณญาณ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงรุ้งการพิมพ์.

คณะครุศาสตร์. (2559). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2556). เขียนให้คิด ผ่านชีวิตและวาทกรรมของ Jacques Derrida. ศิลปะศาสตร์ สำนึก กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ สมมติ.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2536). สุนทรียภาพในภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศยาม.

เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2542). การอ่านตีความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์นาคร.

นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อ่านและวิภาษา.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์. (2534). การอ่านทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนีย์ สินธุเดชะ. (2516). คู่มือการสอนแบบเรียนวรรณคดีไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โพธิ์สามต้น.

สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Almond, Ian. (2004). Sufism and Deconstruction: A Comparative Study of Derrida and IbnArabi. London: Routledge.

Bennington, Geoff and Jacques Derrida. (1991). Jacques Derrida. Paris: Seuil Bloom,

Benjamin A. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York : David Mc Kay Company.

Bruner Lerome S. (1969). The Process of Education. Massachusette Haward University Process Cambridge.

Creswell, John W., and Plano, Clark, V.L. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. United States of America: Sage Publications, Inc.

Derrida, Jacques. (1997). Deconstruction in a Nutshell: A Conversation with Jacques Derrida. John D. Caputo.(Ed.) New York: Fordham University Press.

Joyce, B., Weil, M., and others. (2009). Models of Teaching. (8th ed). New York: Allyn & Bacon.

Kemp, J.E. (1985). The Instructional Design Process. New York: Harper & Row.

Rosenshine and Guenther. (1992). The use of scaffolds for teaching higher-level cognitive strategies. Educational Leadership.

Slavin, R. E. & Kagan, R. (1990). Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. California . The University of California.

Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago.

Vygotsky,L.S. (1978). Mind in Society: the Development of Higher Psychological Process. n.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28