การวิเคราะห์อิทธิพลของหิริ-โอตตัปปะที่มีต่อทัศนคติ ในการคอรัปชั่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • อาภาภรณ์ วิรุตม์พงศ์สกุล สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อิทธิพลของหิริ-โอตตัปปะ, ทัศนคติต่อการคอรัปชั่น, สหสัมพันธ์คาโนนิคอล, โมเดลสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์แบบแผนความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างตัวแปร หิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่น 2) ตรวจสอบอิทธิพลของหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อ การคอรัปชั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในจังหวัดระยอง จำนวน 1,109 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับหิริ-โอตตัปปะ และทัศนคติต่อการคอรัปชั่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติพื้นฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์สหสัมพันธ์ คาโนนิคอล และอิทธิพลเชิงสาเหตุโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า 1) สหสัมพันธ์ คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรหิริ-โอตตัปปะและชุดตัวแปรทัศนคติต่อการคอรัปชั่น มีค่าเท่ากับ 0.389 ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีความแปรปรวนร่วมร้อยละ 0.149 (14.90%) ซึ่งค่าสหสัมพันธ์ในแต่ละ ชุดตัวแปรเป็นผลมาจากตัวแปรโอตตัปปะ (Rc = 0.863) และแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรม (Rc = 0.942) มากที่สุด 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี ( gif.latex?X^{2}/df = 0.372, AGFI=0.998, RMSEA=0.000) ซึ่งตัวแปรด้านหิริ-โอตตัปปะมีอิทธิพลลบทางตรงต่อตัวแปร ด้านทัศนคติต่อการคอรัปชั่น โดยมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 0655 ( gif.latex?\gamma = -0.655) สามารถอธิบายความแปรปรวนของ ตัวแปรด้านทัศนคติต่อการคอรัปชั่นได้ร้อยละ 42.90

References

ขวัญฤทัย ใจทัน. (2554). การให้ความหมายการทุจริตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.

ไชยการ ทองแก้ว. (2520). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหิริ-โอตตัปปะกับสัปปุริสธรรมเพื่อเป็นแนวทาง ในการค้นหาบุคลิกภาพธรรมาธิปไตย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและ พัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2510). กฎหมายกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง. อนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพ นายไฉน รัตโนดม. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

นีออน พิณประดิษฐ์. (2555). จริยธรรม : ทฤษฎีและรูปแบบการพัฒนา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

พรเทพ จันทรนิภ. (2558). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐเพื่อการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดีในสังคมไทย. วารสารเกษมบัณฑิต. 16(1), น. 88-101.

สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ (2558). คอร์รัปชั่น...มะเร็งร้ายทำลายชาติไทย. ประชาคมวิจัย. (20)117, น. 4.

สุวรรณี กิจสมโภชน์ (2535). การศึกษาทัศนคติเชิงจริยธรรมด้านหิริ-โอตตัปปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมควร บุตรน้อย. (2538). การสร้างแบบทดสอบวัดคุณธรรมด้านหิริ-โอตตัปปะสำหรับ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผล การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Shabbir, G. and M. Anwar. 2007. “Determinants of corruption in developing countries.” The Pakistan Development Review (Online). http://www.pide.org.pk/pdf/PDR/2007/Volume4/751-764.pdf, March 29, 2018.

Kohlberg, L. (2000). Development of Moral Character and Moral Ideology Review of Child Development Research. New York: Russell Sage Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29