การวิจัยประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา กุลนภาดล สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชมพูนุท ศรีจันทน์นิล สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การวิจัยประเมินหลักสูตร, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครอบคลุมการประเมินในด้านความมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้าง และเนื้อหาของหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ การจัดการเรียนการสอน ระยะเวลา การศึกษา การพัฒนาตัวเองของผู้เรียน และประสิทธิภาพของผู้เรียน/ผู้สำเร็จการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บัณฑิต ศิษย์เก่า ผู้สำเร็จ การศึกษาตอบมากที่สุด โดยผลการประเมินโดยรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความมุ่งหมาย ของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านโครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านสถานที่ ด้านระยะเวลาการศึกษา ด้านการพัฒนาตัวเองของผู้เรียน และด้านประสิทธิภาพ ของผู้เรียน/ ผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน นอกจากนี้ ผู้ตอบมีข้อเสนอแนะต่อ การปรับปรุงหลักสูตร ดังนี้ 1) ควรเน้นให้นิสิตได้ลงมือปฏิบัติจริงควบคู่ไปกับการให้ข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 2) จัดให้มีสัมมนาวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ 3) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ยังมีไม่เพียงพอ 4) หลีกเลี่ยงการเรียนการสอนวิชาสัมมนาและการฝึกวิชาฝึกวิชาชีพในภาคการศึกษาเดียวกัน

References

พิมพาพัญ ทองกิ่ง (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4(1), น. 50-59. มารุต พัฒผล. (2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อาร์ แอนด์ ปริ้นท์. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนา บุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564, จาก https://www.eeco.or.th/th/personnel-developmenteducation-research-and-technology/.

สำนักงานมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา. (2558). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2558. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564, จาก https://chumphon.mju.ac.th/goverment/20111119104834_chumphon2/Doc_25590517161148_134723.pdf.

Kirkpatrick, D.L. (1978). “Evaluating In-House Training Program.” Training and Development Journal. 32.(9), pp. 6-9. Scriven, M. (1995). Evaluation as a Discipline. Studies in Educational Evaluation. 20(1), pp. 147-166.

Stufflebeam, D. L. (1973). “Education evaluation and decision-making”. In Education evaluation: Theory and practice. Belmont, California: Wadsworth Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29