ภาพสะท้อนสังคมอีสานในบทเพลงลูกทุ่งไทย

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ชัยพิทักษ์ ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิริวรรณ นันทจันทูล สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาพสะท้อนสังคม, อีสาน, บทเพลงลูกทุ่งไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมอีสานในบทเพลงลูกทุ่งไทยที่ประพันธ์โดยสลา คุณวุฒิ จำนวน 172 เพลง โดยใช้กรอบแนวคิดกลวิธีทางภาษาในข้อความของจันทิมา อังคพณิช-กิจ (2561, น. 180-213) ในการวิเคราะห์ตัวบท กรอบแนวคิดเกี่ยวกับวรรณกรรมเป็นภาพสะท้อนสังคมของตรีศิลป์ บุญขจร (2523, น. 5-10) กรอบแนวคิดประเภทของสังคมของทัศนีย์ ทองสว่าง (2549, น. 5) และกรอบแนวคิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของพระมหาสนอง ปัจโจปการี (2553, น. 184-187) ในการวิเคราะห์ภาพสะท้อนด้านต่าง ๆ ของสังคมอีสาน ซึ่งใช้ค่าสถิติร้อยละประกอบ ผลการศึกษาพบภาพสะท้อนสังคมอีสาน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิต 2. ภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นประสบการณ์ตรงของผู้ประพันธ์ และ 3. ภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นอุดมการณ์ทางสังคมและการเมือง รูปแบบสังคมที่สะท้อนผ่านบทเพลงลูกทุ่งไทยทำให้เห็นภาพสังคมอีสาน 3 ประเภท ได้แก่ 1. สังคมแบบปฐมภูมิหรือสังคมชนบทพบ 3 ด้านคือ 1) การประกอบอาชีพ ปรากฏอาชีพชาวนามากที่สุด รองลงมาคือ หมอลำ ครู นักเรียน หางเครื่อง นักร้องวงอีเลคโทน และค้าขาย ตามลำดับ 2) การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ประกอบด้วย การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว (คนรัก) ซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือบิดามารดากับบุตรธิดา สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน และครูกับศิษย์ ตามลำดับ 3) การยึดถือจารีตประเพณีในการครองตนและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2. สังคมแบบทุติยภูมิหรือสังคมเมืองพบ 3 ด้านคือ 1) การประกอบอาชีพ อาชีพรับจ้างพบมากที่สุด รองลงมาคือ ขายแรงงาน พนักงานโรงงาน นักเรียน ทหารเกณฑ์ พนักงานรักษาความปลอดภัย นักร้อง คาเฟ่ และค้าขาย ตามลำดับ 2) การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ประกอบด้วย การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว (คนรัก) ซึ่งพบมากที่สุด รองลงมาคือ บิดามารดากับบุตรธิดา เพื่อนกับเพื่อน สามีกับภรรยา ผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พี่กับน้อง และครูกับศิษย์ ตามลำดับ 3) การกำหนดกฎเกณฑ์และกฎระเบียบทางสังคม และ 3. สังคมแบบปฐมภูมิหรือสังคมชนบทและทุติยภูมิหรือสังคมเมืองผสมผสานกัน

References

ขวัญใจ บุญคุ้ม. (2559). วัจนลีลาและบทบาทหน้าที่ของเพลงลูกทุ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ข้าวทิพย์ ธิดาดิน. (2554). เลดี้กินก้อย. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เจตนา นาควัชระ. (2520). วรรณไวทยากร. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

เจนภพ จบกระบวนวรรณ. (2533). เส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม.

ชาร์ลส์ เอฟ คายส์. (2552). แนวคิดท้องถิ่นภาคอีสานนิยมในประเทศไทย. แปลจาก Isan : Regionalism in Northeastern Thailand โดย รัตนา โตสกุล. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ณรงค์ เส็งประชา. (2539). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2523). นวนิยายกับสังคมไทย พ.ศ.2475-2500. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ตั๊กแตน ชลดา. (2550). โปรดช่วยดูแลคนดี. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

เติมศักดิ์ ทองอินทร์. (2547). ความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

นิรนาม. (2558). ประวัติสลา คุณวุฒิ. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=722).

นิรนาม. (มปป). รถไถนาเดินตาม. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก https://www.siamkubota.co.th/agriculture/index/6.

บุญเลิศ ช้างใหญ่. (2533). เส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2550). วัฒนธรรมทางภาษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไผ่ พงศธร. (2555). รอเด้อคนดี. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ไผ่ พงศธร. (2557). เพราะใจของอ้ายคือเธอ. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

พยงค์ มุกดา. (2533). เส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม.

พิษณุพงษ์ ญาณศิริ. (2556). ภาพสะท้อนสังคมกับรสวรรณคดีในเพลงลูกทุ่งไทย พ.ศ. 2500-2550. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนต์แคน แก่นคูน. (2553). ชีวิตเพื่อชาติ หัวใจเพื่อเธอ. กรุงเทพมหานคร: แกรมมี่ โกลด์.

ไมค์ ภิรมย์พร. (2541). ลูกสาวนายจ้าง. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ไมค์ ภิรมย์พร. (2542). มาเด้อขวัญเอ้ย. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ไมค์ ภิรมย์พร. (2544). ตามรอยไม้เรียว. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ยุวรี กุศล. (2554). อัตลักษณ์ชาวอีสานจากบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้อยโดยต่าย อรทัย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร มหาบัณฑิตสาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

รัฐวรรณ จุฑาพานิช. (2547). เพลงลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545 : การศึกษาเนื้อหา ภาษาและภาพสะท้อนสังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊ค ส์พับลิเคชั่นส์.

วิภา ปานประชา. (2549). การศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่งของ สลา คุณวุฒิ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

ศร สินชัย. (2545). กระท่อมทำใจ. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ศร สินชัย. (2548). ไอ้หนุ่มชุมชน. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ศิริพร อำไพพงษ์. (2544). ทำบาปบ่ลง. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ศิริพร อำไพพงษ์. (2545). สาววังสะพุง. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ศิริพร อำไพพงษ์. (2545). สาวอีเลคโทน. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

สนอง ปัจโจปการี, พระมหา. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร มันตะสูตร. (2525). วรรณกรรมสังคมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ไหมไทย ใจตะวัน. (2552). คือเจ้าเท่านั้น. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์. ไหมไทย ใจตะวัน. (2552). เวลคัม ทู ทำนา. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์. ไหมไทย ใจตะวัน. (2553). บ่มีสิทธิ์เหนื่อย. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

ไหมไทย ใจตะวัน. (2558). บ่าวพันธุ์พื้นเมือง. กรุงเทพมหานคร : แกรมมี่ โกลด์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28