การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางทฤษฎีการไหล เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

วนิดา นาลือฤทธิ์
วรรณธิดา ยลวิลาศ
ปวีณา ขันธ์ศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสำรวจมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) ออกแบบและสร้างต้นแบบบอร์ดเกมการศึกษา 3) ประเมินผลและสะท้อนผลการใช้ต้นแบบบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางทฤษฎีการไหลในการเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และนักออกแบบบอร์ดเกม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์
กึ่งโครงสร้าง แบบจำลองผู้บริโภค แบบวิเคราะห์ปัญหา แบบบันทึกผลลัพธ์หลักการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ และแบบประเมินความเหมาะสม การวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ
Wilcoxon Signed-Rank Test
ผลการวิจัย พบว่า
1) มุมมองของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ต้องการบอร์ดเกมที่เสริมสร้างความมั่นใจและความสนุกสนาน สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ลดความวิตกกังวลและกระตุ้นความสนใจ


2) หลักการออกแบบ ประกอบด้วย เป้าหมาย ข้ออ้างเชิงเหตุผล การออกแบบตัวแทรกแซง ได้แก่ จุดเน้นเชิงสาระ และจุดเน้นเชิงกระบวนการและบอร์ดเกมการศึกษา ได้แก่ ปัจจัยป้อนและกระบวนการปฏิบัติ


3) ผลการประเมินประสิทธิผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
นาลือฤทธิ์ ว. ., ยลวิลาศ ว. ., & ขันธ์ศิลา ป. (2025). การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางทฤษฎีการไหล เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 12(1), 16–36. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/276923
บท
บทความวิจัย

References

ฐิติพล ขำประถม. (14 เมษายน 2558). บอร์ดเกม ธุรกิจแนวใหม่ที่กำลังเติบโต. คมชัดลึก. http://www.komchadluek.net/news/kom-kid/204681

สรวีย์ กรกชงาม และ ผุสดี กลิ่นเกสร. (2566). การพัฒนาบอร์ดเกมคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 1-15.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). กรอบการประเมินด้านคณิตศาสตร์. https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/mathematical_literacy_framework/

สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). หนังสือการวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (25 มีนาคม 2567). ผลสอบคุณภาพผู้เรียน (NT). https://www.kalasin2.go.th/

อภิสิทธิ์ไล่ศัตรูไกล. (2557). คู่มือการออกแบบบริการ SERVICE DESIGN WORKBOOK. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).

Csikszentmihalyi, M. (1990). Flow: The psychology of optimal experience. Harper & Row.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods.

Epstein, J. L. (2001). School, family, and community partnerships: Preparing educators and improving schools. Westview Press.

Hattie, J. (2009). Visible learning: A synthesis of over 800 meta-analyses relating to achievement. Routledge.

McKenney, S., & Reeves, T. C. (2012). Conducting educational design research. Routledge.

OECD. (2019). PISA 2018 results (Volume I): What students know and can do. OECD Publishing. https://doi.org/10.1787/5f07c754-en

Piaget, J. (1977). The Development of Thought: Equilibration of Cognitive Structures. Oxford: Basil Blackwel

Platz, L., & Jüttler, M. (2022). Game-based learning as a gateway for promoting financial literacy–how games in economics influence students’ financial interest. Citizenship, Social and Economics Education, 21(3), 185-208.

Ramli, S. B., Omar, F. B., Dolah, J. B., Yasin, S. N. A. B. S., & Jusof, M. J. B. (2023). 2U2i and WBL-based programs: Student-centered learning efficacy in Malaysian higher education. Docens Series in Education, 4, 62–79.

Rizki, L. M., & Priatna, N. (2019). Mathematical literacy as the 21st century skill. In Journal of Physics: Conference Series 1157(4), 042088.

Rose, D. H., & Meyer, A. (2002). Teaching every student in the digital age: Universal design for learning. Association for Supervision and Curriculum Development.

Syafitri, R., Putra, Z. H., & Noviana, E. (2020). Fifth grade students’ logical thinking in mathematics. Journal of Teaching and Learning in Elementary Education, 3(2), 157–167.