Author for Guidelines
1. ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1 บทความพิเศษ (Special Article) บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ
1.2 บทความทางวิชาการ (Academic Article) ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการมีความโดดเด่น
เพื่อนําเสนอองค์ความรู้ใหม่สู่สังคม
1.3 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้
อันเป็นประโยชน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน
1.4 บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตํารา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้เขียนมาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ
1.5 ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความ ทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสาร
ต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนําเครื่องมือใหม่ ตําราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจหรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
2. การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น สามารถส่งเข้าในระบบออนไลน์ของวารสารที่ www.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/index
3. การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้เขียนควรตระหนักถึงความสําคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกําหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกําหนดของวารสารจะทําให้การพิจารณาตีพิมพ์
มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกําหนดของวารสาร
4. รูปแบบการจัดเตรียมบทความ
4.1 สําหรับการจัดเตรียมบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ต้นฉบับเป็นไฟล์ Microsoft Word โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 16 point ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า และการจัดหน้ากระจายแบบไทย (Thai Distributed) โดยตั้งค่าหน้ากระดาษขนาดเอ 4 (A4) (ระยะขอบกระดาษ ด้านบน 4.5 ซม. ด้านล่าง 4.01 ซม.,
ด้านซ้าย/ขวา 3.81 ซม.) พร้อมใส่หมายเลขหน้ากํากับทางมุมขวาบนทุกหน้า และบทความไม่ควรยาวเกิน
14 หน้ากระดาษ โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง
4.2 ชื่อเรื่องภาษาไทย โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 20 point, ตัวหนา (Bold) และในส่วนชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font)
ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 18 point, ตัวหนา (Bold)
4.3 ชื่อผู้เขียน, สังกัดหรือหน่วยงาน, และอีเมล์ (กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้เรียงจากผู้เขียนบทความ 1 ผู้ร่วม 2,3,4,5 โดยระบุสังกัดหรือหน่วยงาน และระบุเฉพาะอีเมลของผู้เขียนหลัก หรืออีเมล ของผู้เขียนร่วมที่สามารถติดต่อได้ท่านใดท่านหนึ่ง)
4.4 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 350 คำ
4.5 กําหนดคําสําคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3 คํา
4.6 การกำหนดหัวข้อ
- หัวข้อหลัก (Heading) ให้กำหนดเป็นอักษรตัวหนา (Bold) และชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย
- หัวข้อรอง (Sub-Heading) ผู้เขียนสามารถเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้ เช่น การย่อหน้า ขีดเส้นใต้หัวข้อย่อย กำกับด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสลับกันระหว่างตัวอักษรกับตัวเลขก็ได้ แต่ต้องใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งบทความ
บทความวิจัยให้เรียงลําดับ ดังนี้
1) บทคัดย่อ (Abstract)
2) บทนํา (Introduction)
3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research objectives)
4) วิธีดำเนินการวิจัย (Research methods)
5) ผลการวิจัย (Research results)
6) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion of Research Findings)
7) ข้อเสนอแนะ (Suggestions)
8) องค์ความรู้ใหม่ (Originality and Body of Knowledge)
9) เอกสารอ้างอิง (References)
บทความวิชาการให้เรียงลําดับ ดังนี้
1) บทคัดย่อ (Abstract)
2) บทนํา (Introduction)
3) เนื้อหา (Content)
4) สรุป (Conclusion)
5) องค์ความรู้ใหม่ (Originality and Body of Knowledge)
6) เอกสารอ้างอิง (References)
บทวิจารณ์หนังสือให้เรียงลําดับ ดังนี้
1) ชื่อเรื่องของหนังสือ (Title) ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2) ชื่อผู้เขียนหนังสือ (Author) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมระบุสถาบันหรือหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด
3) ชื่อผู้วิจารณ์ (Name of Reviews) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุสถาบันหรือหน่วยงานของที่ผู้วิจารณ์สังกัด
4) เนื้อหาการวิจารณ์ (Reviews Content) ในการเขียนเกี่ยวกับหนังสือวิจารณ์เนื้อเรื่องจะเป็นส่วนแสดงความคิดเห็นและรายละเอียดในการวิจารณ์ โดยนําเสนอเรื่องราวจุดเด่น จุดบกพร่องของเรื่อง โดยทําการวิจารณ์หรือวิพากษ์อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลตามหลักวิชาการ
5) สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนสรุปความคิดเห็นทั้งหมดที่วิจารณ์รวมถึงให้ข้อคิดหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์สําหรับผู้อ่าน
6) เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่าง ๆ ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน
รูปแบบเอกสารอ้างอิงวารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น
เอกสารที่นำมาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือสามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์และรายการอ้างอิงจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 รายการอ้างอิง / 1 บทความ
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA 6th (American Psychological Association)รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเรื่อง ใช้วิธีการอ้างอิงระบบนามปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA)
ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บเปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิงเอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ โดยรูปแบบของเอกสารอ้างอิง มีดังนี้
การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
1) คัมภีร์พระไตรปิฎกให้อ้างชื่อคัมภีร์/เล่มที่/ข้อที่/เลขหน้ามาด้วย ตัวอย่าง เช่น
“ดูกรภิกษุทั้งหลายจักร 4 ประการนี้ เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบเป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้วย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่และความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก” (องฺ.จตุกฺก.21/31/37) เป็นต้น
2) ผู้แต่งหนึ่งราย ให้อ้างชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2560)
3) ผู้แต่ง 2 คน ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” ในการเชื่อมผู้เขียนทั้ง 2 คน แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และ เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2560)
4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คน ให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรกแล้วเพิ่มคำว่า “และคณะ” แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ และคณะ, 2560)
5) กรณีที่เนื้อความเป็นเรื่องเดียวกัน หรือผลการวิจัยเหมือนกัน แต่มีผู้อ้างอิงหลายคนให้ใช้รายการอ้างอิงที่ใกล้เคียงปีปัจจุบันมากที่สุด
การอ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ
1) ถ้ามีผู้แต่ง 1 คน ให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และ ปีที่พิมพ์ เช่น (Keown, 2010)
2) ถ้ามีผู้แต่ง 2 คน ให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้เครื่องหมายแอนด์ (&) คั่นกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสองแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์เช่น (Hersey &Blanchard, 2010)
3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คน ให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งคนที่ 1 ตามด้วย et al. ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ (Kaiser et al., 2010)
การเขียนเอกสารอ้างอิง
(1) คัมภีร์พระไตรปิฎก
รูปแบบ :
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎก./(ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) ใส่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(2) หนังสือ
รูปแบบ :
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(ครั้งที่พิมพ์)./สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง :
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ ไทย
ออฟเซต.
(3) บทความจากวารสาร
รูปแบบ :
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้าแรกที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.
ตัวอย่าง :
พระธีระพงษ์ นรินฺโท. (2562). คุณค่าการปกครองแบบธรรมาธิปไตยตามนัยพุทธจริยศาสตร์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬา
ขอนแก่น, 6(4), 47-60.
(4) สารนิพนธ์, วิทยานิพนธ์, ดุษฎีนิพนธ์, รายงานการวิจัย
รูปแบบ :
ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)./สถานที่
พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือชื่อมหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง :
สมบูรณ์ ตาสนธิ. (2560). กระบวนการและขั้นตอนบรรลุอริยสัจ 4 ของพระอริยบุคคล. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนัส ภาคภูมิ. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. (รายงานการ
วิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(5) หนังสือพิมพ์
รูปแบบ :
ผู้แต่ง./(วันที่/เดือน/ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/น.เลขหน้า.
ตัวอย่าง :
สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น.13.
(6) ราชกิจจานุเบกษา
รูปแบบ :
ชื่อพระราชบัญญัติ./(ปีที่พิมพ์,/วันที่/เดือน)./ราชกิจจานุเบกษา./เล่มที่/ตอนที่/,/หน้า/.
ตัวอย่าง :
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 49.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555, 20 มิถุนายน). เรื่องกำหนดประเภทและขนาดของ
โครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และ
แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. ราชกิจจนุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 97 ง, หน้า 1.
(7) การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์ให้ทำการอ้างอิงในเนื้อหาโดยไม่ต้องลงรายการในเอกสารอ้างอิง
(8) สื่อออนไลน์
รูปแบบ :
ผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./สืบค้นเมื่อ,/จาก/แหล่งที่มาของข้อมูล (URL)
ตัวอย่าง :
ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (2561). พระพุทธศาสนาเถรวาท จะสืบทอดดำรงอยู่อย่างไร? สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562,
จาก https://www.dailynews.co.th/article/666936
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). เลื่อนข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานคำสั่ง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ 593/2562. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก http://www.onab.go.th/
category/news/คำสั่ง- ประกาศ/
ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2557). การวางแผนและการติดต่อประสานงานเชิงพุทธ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 25-31.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺ.โต). (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 49.
พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). (2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาอาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2556, จาก http://www.mcu.ac.th/site/artidecontent_desc.php?
artide_id=1304&art iclegroup_id=274
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎก 2500. พระนครศรีอยุธยา:
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบูรณ์ ตาสนธิ. (2560). กระบวนการและขั้นตอนบรรลุอริยสัจ 4 ของพระอริยบุคคล. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Kiarash, A. (2007). Human Dignity in Islamic Bioethics. The Iranian Journal of Allergy, 6(5), 25-28.