การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางทฤษฎีการไหล เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสำรวจมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) ออกแบบและสร้างต้นแบบบอร์ดเกมการศึกษา 3) ประเมินผลและสะท้อนผลการใช้ต้นแบบบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางทฤษฎีการไหลในการเสริมสร้างความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และนักออกแบบบอร์ดเกม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์
กึ่งโครงสร้าง แบบจำลองผู้บริโภค แบบวิเคราะห์ปัญหา แบบบันทึกผลลัพธ์หลักการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ และแบบประเมินความเหมาะสม การวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ
Wilcoxon Signed-Rank Test
ผลการวิจัย พบว่า
1) มุมมองของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ต้องการบอร์ดเกมที่เสริมสร้างความมั่นใจและความสนุกสนาน สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ลดความวิตกกังวลและกระตุ้นความสนใจ
2) หลักการออกแบบ ประกอบด้วย เป้าหมาย ข้ออ้างเชิงเหตุผล การออกแบบตัวแทรกแซง ได้แก่ จุดเน้นเชิงสาระ และจุดเน้นเชิงกระบวนการและบอร์ดเกมการศึกษา ได้แก่ ปัจจัยป้อนและกระบวนการปฏิบัติ
3) ผลการประเมินประสิทธิผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐิติพล ขำประถม. (14 เมษายน 2558). บอร์ดเกม ธุรกิจแนวใหม่ที่กำลังเติบโต. คมชัดลึก. http://www.komchadluek.net/news/kom-kid/204681
สรวีย์ กรกชงาม และ ผุสดี กลิ่นเกสร. (2566). การพัฒนาบอร์ดเกมคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 1-15.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). กรอบการประเมินด้านคณิตศาสตร์. https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/mathematical_literacy_framework/
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). หนังสือการวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (25 มีนาคม 2567). ผลสอบคุณภาพผู้เรียน (NT). https://www.kalasin2.go.th/
อภิสิทธิ์ไล่ศัตรูไกล. (2557). คู่มือการออกแบบบริการ SERVICE DESIGN WORKBOOK. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
Csikszentmihalyi, M. (1990). Flow: The psychology of optimal experience. Harper & Row.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods.
Epstein, J. L. (2001). School, family, and community partnerships: Preparing educators and improving schools. Westview Press.
Hattie, J. (2009). Visible learning: A synthesis of over 800 meta-analyses relating to achievement. Routledge.
McKenney, S., & Reeves, T. C. (2012). Conducting educational design research. Routledge.
OECD. (2019). PISA 2018 results (Volume I): What students know and can do. OECD Publishing. https://doi.org/10.1787/5f07c754-en
Piaget, J. (1977). The Development of Thought: Equilibration of Cognitive Structures. Oxford: Basil Blackwel
Platz, L., & Jüttler, M. (2022). Game-based learning as a gateway for promoting financial literacy–how games in economics influence students’ financial interest. Citizenship, Social and Economics Education, 21(3), 185-208.
Ramli, S. B., Omar, F. B., Dolah, J. B., Yasin, S. N. A. B. S., & Jusof, M. J. B. (2023). 2U2i and WBL-based programs: Student-centered learning efficacy in Malaysian higher education. Docens Series in Education, 4, 62–79.
Rizki, L. M., & Priatna, N. (2019). Mathematical literacy as the 21st century skill. In Journal of Physics: Conference Series 1157(4), 042088.
Rose, D. H., & Meyer, A. (2002). Teaching every student in the digital age: Universal design for learning. Association for Supervision and Curriculum Development.
Syafitri, R., Putra, Z. H., & Noviana, E. (2020). Fifth grade students’ logical thinking in mathematics. Journal of Teaching and Learning in Elementary Education, 3(2), 157–167.