รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Main Article Content

ปฏิญญา แพ่งกุล
สุเทพ เมยไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากความต้องการจำเป็น ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.38) รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน และ ด้านการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 4) ด้านการพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 5) ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 6) ด้านการนิเทศการศึกษา
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
แพ่งกุล ป., & เมยไธสง ส. . (2023). รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(3), 230–240. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/262736
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กรทิพย์ ศกุนตานุรักษ์. (2544). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

กรรณิกา เจิมเทียนชัย. (2539). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผล องค์การของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จุฑารัตน์ อินทะแสน. (2545). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมจิตต์ ขุททะกะพันธ์. (2544). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้และทักษะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2563). ข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2565. จาก http://www.ret2.go.th/ict/

Cassidy, Thomas Jame Jr. (1991). "Data for Decisions in Developing Education System".Dissertation Abstracts International. Educational Administration Major: Ohio State University.

Joyce, Weil, Calhoun. (2009). Models of Teaching. (8th ed.). New York: Courtesy of Reece Galleries, Inc.

MJ Johnson and K. Button. (1998). Action Research Paves the Way for Continuous Improvement. Journal of Staff Development, 19, 48-51.

Paul G. Sehemp. (1995). Learning on the Job: Analysis of the Acquisition of a Teacher's Knowledge. Journal of Research and Development in Education, 28(4), 231-244.