Increasing The Retirement Age: Can the Dutch Experience Be Applied to Thai Socio-Economic and Cultural Context?
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้เล็งผลถึงการศึกษาเรื่องการเพิ่มการเกษียณอายุในประเทศไทยและใช้ประสบการณ์ประเทศเนเธอร์แลนด์จากการปฏิรูปการเกษียณอายุมาปรับใช้ในบริบทของไทยโดยมุ่งเน้นในปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมผลการศึกษาจากาการสัมภาษณ์คนไทย 17คนและคนเนเธอร์แลนด์ 1 คน พร้อมกับการทบทวนวรรณกรรมพบว่าความแตกต่างของประเทศไทยและบริบทปัจจัยของไทยเองมีผลต่อความคิดของคนในการเพิ่มการเกษียณอายุในหลายๆ แง่มุมดังนี้ 1) การศึกษามีผลต่อการวางแผนและการออมค่อนข้างน้อย คนทั่วไปมุ่งเน้นการหาทรัพย์สินเป็นหลักไว้สำหรับการเกษียณอายุในอนาคต 2) ความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เพียงพอจึงทำให้คนเราพึ่งพาตัวเองและ“ทำงานหารายได้ให้มากเท่าที่คนเราสามารถทำได้” 3) ครอบครัวเป็นตัวกำหนดหลักโดยตรงที่ส่งผลต่อการทำงานต่อหลังอายุ 60 ปี สำหรับแรงงานส่วนใหญ่ในภาคการเกษตรที่ไม่ใช่ภาครัฐ ครอบครัวถูกมองว่าเป็นที่พึ่งหลังจากการเกษียณอายุการทำงาน ประเด็นสำคัญจากประสบการณ์ของประเทศเนเธอร์แลนด์สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันของรัฐและภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาทางด้านแรงงานเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การปรับเปลี่ยนอายุเกษียณประสบความสำเร็จ