Does ASEAN-ization exist? : Assessing Social Constructivist Process through Europeanization

ผู้แต่ง

  • Natthanan Kunnamas คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

ในอดีตทฤษฎีและกรอบความคิดในการศึกษาการบูรณาการของสหภาพยุโรปมักถูกหยิบยกมาถกเถียงว่า สามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ภูมิภาคนิยมใหม่ (new regionalism) หรือภูมิภาคาภิวัตน์ (regionalization) ในบริเวณนอกยุโรปได้หรือไม่ โดยเฉพาะทฤษฎีภารกิจนิยมใหม่ (neo-functionalism) ที่เน้นภารกิจเฉพาะและการถ่ายโอนอำนาจเหนือรัฐไปยังองค์กรกลาง หรือแนวคิดขั้วตรงข้ามอย่างกรอบความคิดว่าด้วยการบูรณาการเป็นเพียงแต่ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสมาชิก (inter-governmentalism) เพียงเท่านั้น งานชิ้นนี้จึงทดลองใช้กรอบความคิดว่าด้วยยุโรปภิวัตน์ (Europeanization) ซึ่งใช้ในการอธิบายสหภาพยุโรปในยุคหลัง เมื่อภารกิจของสหภาพยุโรปเกี่ยวพันกับภาคประชาสังคม ภายใต้คุณค่าแบบมนุษยนิยมมากขึ้น ที่ไปพ้นจากมหทฤษฎี (grand theories) เดิม อย่างสองกรอบความคิดข้างต้น มาอธิบายสิ่งที่ปรากฏใกล้ตัว หรือกระบวนการอาเซียนภิวัตน์ว่ามีมากน้อยเพียงใดในแต่ละทิศทาง ในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ซึ่งมีปัจจัยทางประวัติศาสตร์ ที่มา เหตุผลในการจัดตั้ง และโครงสร้างการบริหารที่แตกต่างจากสหภาพยุโรป แต่คุณค่า ปทัสถานที่สำคัญในอาเซียนหรือวิถีอาเซียน นำมาสู่การหาคำตอบในสามทิศทางที่ว่า กลไกและปทัสถานของอาเซียน ได้ถูกบงการ (top-down) ลงไปภายในระดับรัฐมากน้อยเพียงใด มีรัฐใดที่ผลักดัน (bottom-up) ผลประโยชน์แห่งชาติตนขึ้นไปเป็นนโยบายร่วมกันของอาเซียน และสุดท้ายความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน (ASEAN centrality) ได้สร้างแรงบันดาลใจในโครงการอื่นในภูมิภาคหรือนอกภูมิภาค (side-way) อย่างไรบ้าง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30