เบร็กซิท: ผลกระทบของโลกาภิวัตน์

ผู้แต่ง

  • นริศ สังข์ไพโรจน์ นักวิชาการอิสระ กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

ผลการลงประชามติว่าด้วยการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือมีชื่อเล่นว่า เบร็กซิท (Brexit) ในวันที่ 23 มิถุนายน 2016 ที่จบลงด้วยชัยชนะของผู้ที่ต้องการพาสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปนอกจากจะสร้างความประหลาดใจให้กับประชาคมโลกเนื่องจากผลลัพธ์ที่พลิกผลสำรวจจากแทบทุกสำนัก ยังได้ส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น การลาออกของเดวิด คาเมรอน (David Cameron) นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งทั่วโลก ตลอดจนการอ่อนตัวของค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง (Pound Sterling) การวิเคราะห์ผลการลงประชามติได้สะท้อนให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ประชนสหราชอาณาจักรตัดสินใจเลือกออกจากสหภาพ บทความนี้ต้องการนำเสนอถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมและส่งผลให้ประชาชนสหราชอาณาจักรเลือกที่จะหันหลังให้กับการบูรณาการในระดับภูมิภาคและออกจากสหภาพยุโรป รวมถึงการปะทะกันระหว่างประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์กับประชาชนที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการคงอยู่ในสหภาพในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ผ่านการนำเสนอความเป็นมา คำจำกัดความ และคุณลักษณะสำคัญของกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ อาทิ การค้าเสรี (free trade) และการกระจายฐานการผลิตออกไปทั่วโลกตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน (global supply chain) การเคลื่อนย้ายแรงงาน (labour mobility) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (technological progress)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31