การพัฒนาตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ ทิพวัน
วราพร เอราวรรณ์

บทคัดย่อ

         


การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถม


ศึกษาปีที่ 6 2) ตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตัวอย่าง 892 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยดังนี้


         1. กรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 7 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ คือ 1. ชอบความท้าทาย มีตัวบ่งชี้ยอมรับความเสี่ยง รับรู้ว่างานท้าทายเป็นโอกาสในการเรียนรู้การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 2. ความเพียรพยายามในการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้มุ่งมั่นในการเรียนรู้ ใช้ความพยายาม 3. กล้าเผชิญปัญหา มีตัวบ่งชี้พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรค การวิเคราะห์สาเหตุของความล้มเหลว มุ่งแก้ไขความผิดพลาด 4. เรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ มีตัวบ่งชี้รับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ ปรับปรุงและพัฒนา 5. ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา มีตัวบ่งชี้การพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ของสมอง การพัฒนาศักยภาพทางการคิดของตนเอง 6. หาบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น มีตัวบ่งชี้ แสวงหาและเรียนรู้ความสำเร็จของผู้อื่น นำประสบการณ์ความสำเร็จผู้อื่นมาปรับใช้ 7. การแสดงออกและการรับผิดชอบในการเรียนรู้ตนเอง มีตัวบ่งชี้การเรียนรู้และการพัฒนาตนเองต่อเนื่อง ความรับผิดชอบในการเรียนรู้


           2. โมเดลตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square= 79.213, df = 82, P-value = 0.5667, CFI = 1.000, TLI = 1.002, RMSEA = 0.017, SRMR = 0.021 และ Chi-Square/ df = 0.966)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ชนิตา รุ่งเรืองและคณะ. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา: มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 171–175.

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช และคณะ (2550). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง การพิทักษ์ ปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและ เยาวชนที่กระทำผิดตามอนุสัญญาและมาตรฐานระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการยุติธรรมกรรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนและฝึกกระบวนการกลุ่ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.กรุงเทพฯ: ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนะดี สุริยะจันทร์หอม. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างโกรว์ธมายด์เซตสำหรับนักศึกษาหลักสูตร วิชาชีพครู. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม.

พัชราวลัย มีทรัพย์. (2556). โครงสร้างการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิจัย มสด. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์, 9(2),159-185.

ศุภมิต ศิริโสภณภิวัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างค่านิยมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 36-45.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา. (2561). กรอบความคิดแบบเติบโต“รักเรียนรู้ และชอบความท้าทาย”. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://leader.innoobec.com/wp-content/uploads/2016/02/Mindset-Book-Final_11JUN2015.compressed.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2562].

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อภิญญา อิงอาจ และ ชลธร อริยปิติพันธ์. (2553). การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียนและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 9(1), 30-43.

Aronson, J. (2002). Reducing The Effects of Stereotype Threaten African American College Students by Shaping Theories of Intelligence. Journal of Experimental Social Psychology, 38(1) : 113-125.

Bloom , B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill.

Dweck, C.S. (2000). Self-Theories: Their Role in Motivation, Personality, and Development. NewYork: Random House.

Dweck, C.S. (2006). Mindset : The new psychology of success. New York: Random House.

James N. Johnstone. (1981). Indicators of Education Systems. In London : The Ancher Press.

Kolb and Fry. (1975). Organizational learning : The contributing processes and literatures. in Cohen, M. D., & Sproull L. S.

Weir, John Joseph. (1974). Problem Solving is Every Bodyus . Science Teacher, (4),16-18; April.