การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ที่เผยแพร่ระหว่าง ปี พ.ศ. 2555 – 2559 จำนวน 81 เรื่อง เครื่องมือในการวิจัยคือแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วยค่าขนาดอิทธิพลคำนวณตามวิธีของ Hunter จำนวน 128 ค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการบรรยายและเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าวิทยานิพนธ์มีคุณภาพระดับดีมาก โดยมีจำนวนมากที่สุดปี พ.ศ. 2556 วิธีจัดการเรียนรู้ที่ศึกษามากที่สุดคือตามแนวทฤษฎี Constructivism การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวนตัวอย่างอยู่ระหว่าง 61-90 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 มากที่สุด ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองมากที่สุดอยู่ที่มากกว่า 30 ชั่วโมง จำนวนตัวแปรอิสระที่ศึกษามากที่สุด ตัวแปรตามที่ศึกษาร่วมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุดคือเจตคติต่อวิชา จำนวนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 4 ชนิดแผนการจัดการเรียนรู้มีมากที่สุด การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีการตรวจสอบทั้ง 4 ด้านคือความเที่ยงตรงความยากง่าย อำนาจการจำแนกและความเชื่อมั่นสถิติพื้นฐานที่ใช้มากที่สุดคือร้อยละและค่าเฉลี่ย และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานใช้มากที่สุดคือ t – test ขนาดอิทธิพลเปรียบเทียบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทฤษฎี Constructivism แบบเน้นประสบการณ์ และแบบผสมผสานไม่แตกต่างกัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551.
กาญจนา โป๊ะประนม. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 7-14.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2558). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพ : นานมีบุ๊คส์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแบเนจเม็นท์.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2540). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
มัชฌิมา บุญเลิศ. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาลินี วรรณทอง. (2555). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านการเรียนการสอนที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตนะ บัวสนธ์, เอื้อมพร หลินเจริญ, พิจิกานต์ ศรีพิมาย, ปริญญา จิตรโคตร, ประสิตา สุขสำราญ, ปัทมา ภู่สวาสดิ์ และสุภาพร จันทรคีรี. (2557). การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 120-126.
วัชญา อ่อนนางใย, บุญชม ศรีสะอาด และอมร มะลาศรี. (2559). การสังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัยของวิทยานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา และ สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่พิมพ์เผยแพร่ในช่วงปีพุทธศักราช 2550-2556. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(1), 203-219.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 .กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. https://www.mhesi.go.th/main/th/strategic-plan/7020-suvit-maesincee-stipolicy
Hunter, J.E., F.L. Schmidt and G.B. Jackson. (1982). Meta-analysis: Cumulating Research Findings Across Studies. Beverly Hills, CA : Sage Publications.