การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เวลา ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกต

Main Article Content

ปุณชรัสมิ์ นามไพรธัญศิริ
สมนึก ภัททิยธนี
ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นหนึ่งในรูปแบบวิธีการสอนที่
ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสติปัญญาควบคู่ไปกับด้านจิตพิสัยของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มี
ความมุ่งหมาย คือ เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้
ทฤษฎีพหุปัญญาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง เวลา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
75/75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา
และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่พัฒนาขึ้นและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบ กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาสีนวล อําเภอเจริญศิลป์
สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จํานวน 52 คน
ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มละ 26 คน กลุ่ม ทดลองได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้
ทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบ
ละ 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จํานวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) รายข้อ
ตั้งแต่ .34 ถึง .73 อํานาจจําแนกรายข้อตั้งแต่ .30 ถึง .65 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .95 แบบวัด
เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ จํานวน 20 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนก (rxy) ตั้งแต่ .58 ถึง .73 ค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และทดสอบสมมุติฐานด้วย Hotelling’s T 2 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง เวลา
ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.35 / 89.90 และ 76.89 / 77.60 ตามลําดับ
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา
และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีค่าเท่ากับ .82 และ .63 ตามลําดับ
3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้
ทฤษฎีพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียน
ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่า ดังนั้นจึงสมควรสนับสนุนให้ครูคณิตศาสตร์นําการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุ
จุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย