การพัฒนาเกณฑ์ประเมินการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์ประเมินการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านอินโฟกราฟิก และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้เกณฑ์ประเมินการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านอินโฟกราฟิกที่สร้างขึ้น โดยประเมินอินโฟกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์ประเมินการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านอินโฟกราฟิกได้ผ่านการวิพากษ์ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจำนวน 3 ท่าน เกณฑ์ประเมินที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมองค์ประกอบ 2 ด้าน คือ 1) ด้านเนื้อหาและข้อมูล และ 2) ด้านการออกแบบ ระดับคะแนนในแต่ละองค์ประกอบแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 2, 1 และ 0 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยแยกกันประเมินชิ้นงานของนักเรียนแล้วนำผลคะแนนที่ได้ มาอภิปรายหาข้อสรุปจนได้คะแนนที่ตรงกันทั้งหมด (ความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ประเมิน เท่ากับ 1) และคำนวณ หาค่าร้อยละของผลการประเมินในแต่ละองค์ประกอบ ผลการทดลองใช้เกณฑ์ประเมินการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านอินโฟกราฟิก พบว่า ในด้านเนื้อหาและข้อมูล ชิ้นงานส่วนใหญ่ยังระบุเนื้อหาวิทยาศาสตร์ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ พบความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาวิทยาศาสตร์บางส่วน ในด้านการออกแบบ พบว่า ชิ้นงานส่วนใหญ่ใช้การจัดวางเค้าโครงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาที่สื่อสาร อีกทั้งรูปแบบตัวอักษรและรูปภาพประกอบที่ใช้ยังไม่สอดคล้องกับเนื้อหาและข้อมูลที่นำเสนอ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Alrwele, N. S. (2017). Effects of infographics on student achievement and students’ perceptions of the impacts of infographics. Journal of Education and Human Development, 6(3), 104-117. https://doi.org/10.15640/jehd.v6n3a12
Angganing, P., Budiningsih, C. A., & Haryanto. (2022). The Profile of Students’ Communication Skills on Science Learning in Elementary Schools. Pegem Journal of Education and Instruction, 13(1), 117-124.
Azizah, D. N., Rustaman, N. Y., & Rusyati, L. (2021). Enhancing students’ communication skill by creating infographics using Genially in learning climate change. Journal of Physics: Conference Series, 1806(1), 012129. https://doi.org/10.1088/1742-6596/1806/1/012129
Basco, R. O. (2020). Effectiveness of science infographics in improving academic performance among sixth grade pupils of one laboratory school in the Philippines. Research in Pedagogy, 10(2), 313-323.
Damyanov, I., & Tsankov, N. (2018). The role of infographics for the development of skills for cognitive modeling in education. International Journal of Emerging Technologies in Learning (iJET), 13(1), 82-92.
Davis, M. J., & Quinn, D. (2013). Visualizing Text: The New Literacy of Infographics. Reading Today, 31(3), 16-18.
Davis-Becker, S. L., & Buckendahl, C. W. (2013). A proposed framework for evaluating alignment studies. Educational Measurememnt: Issues and Practice, 32(1), 23-33.
Jones, R. M. (2019). Advancing Scientific Communication with Infographics: An Assignment for Upper-Level Chemistry Classes. ACS Symposium Series American Chemical Society.
Kardgar, A., Mentzer, N., Laux, D., Chesley, A., & Whittinghill, D. M. (2017). Developing strategies for instruction and assessment of infographics for first-year technology students. Paper presented at the 2017 ASEE Annual Conference & Exposition. https://doi.org/10.18260/1-2--28150
Kulgemeyer, C., & Schecker, H. (2013). Students Explaining Science—Assessment of Science Communication Competence. Research in Science Education, 43(6), 2235-2256. https://doi.org/10.1007/s11165-013-9354-1
La Marca, P. M., Redfield, D., & Winter, P. C. (2000). State standards and state assessment systems: A guide to alignment. Council of Chief State School Officers.
Siricharoen, W. V., & Siricharoen, N. (2015). How infographic should be evaluated. Paper presented at the Proceedings of the 7th International Conference on Information Technology (ICIT 2015). https://doi.org/10.15849/icit.2015.0100
Spektor-Levy, O., Eylon, B. S., & Scherz, Z. (2009). Teaching scientific communication skills in science studies: does it make a difference?. International Journal of Science and Mathematics Education, 7(5), 875-903.
Thatcher, B. (2012). An Overview of Infographics. https://www.slideshare.net/slideshow/an-overview-of-infographicsv5-0-15179863/15179863
Janprasert, B., Laothong, N., & Ngankrathok, S. (2020). Inter-rater Reliability of Algnment between Science Items and Indices. Journal of Education Studies, 48(3), 144-163. (in Thai)
Phinin, T. (2021). The Effects of Model-Base Learning for Developing Science Communication Skill of the Changes of State of Matter for the 5th Grade Students. Proceeding National & International Conference, 15(2), 41-52. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/2431 (in Thai)