รูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถการให้เหตุผลและคุณลักษณะที่พึงประสงค์วิชากฎหมายแรงงานสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา

Main Article Content

บุญเลิศ โพธิ์ขำ
พิจิตรา ธงพานิช
นิราศ จันทรจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยพัฒนานี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการให้เหตุผลและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการเรียนรู้วิชากฎหมายแรงงานสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาและ 2) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นต่อการใช้เหตุผลและคุณลักษณะที่พึงในการเรียนวิชากฎหมายแรงงาน โดยการประยุกต์ใช้แนวคิด การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การให้เหตุผล การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ดำเนินการวิจัยในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ขั้นตอนวิจัยได้แก่ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบด้วยการสัมภาษณ์ครู 3 คน นักศึกษา 9 คนและสังเกตการเรียนวิชากฎหมายแรงงาน 3 ห้องเพื่อทราบปัญหาและความต้องพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดและข้อมูลข้างต้น ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบเพื่อประเมินความสามารถการใช้เหตุผลและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ในการเรียนวิชากฎหมายแรงงาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ ร่างรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินการให้เหตุผลและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยและร้อยละของผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการทดลองใช้และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้ 1. หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4. ปัจจัยด้านสังคมและการตอบสนอง 5. ปัจจัยสนับสนุนและแหล่งเรียนรู้ 6. การประเมินคุณภาพและความเหมาะสมร่างรูปแบบอยู่ในระดับมาก การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้แนวคิด การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การให้เหตุผล การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 ผลทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถการให้เหตุผลและคุณลักษณะที่พึงประสงค์วิชากฎหมายแรงงานสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  29.6 และ 54.4 คิดเป็นร้อยละ 65.9 และ 67.9 ตามลำดับ โดยได้ปรับเงื่อนไขการให้คะแนนรูบริกส์ในแบบประเมินความสามารถการให้เหตุผลให้ชัดเจนเพื่อให้การประเมินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยรูปแบบการเรียนรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียนในสถานการณ์เกี่ยวข้องให้เกิดผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Prentice Hall.

Blair, C. (2006). How similar are fluid cognition and general intelligence A developmental neuroscience perspective on fluid cognition as an aspect of human cognitive ability. Behavioral and Brain Sciences, 26, 109–160.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. McGraw-Hill.

Cattell, R. B. (1971). Abilities: Their structure, growth, and action. Houghton Mifflin.

Ganzel, A. K. (1999). Adolescent decision making: The influence of mood, age, and gender on the consideration of Information. Journal of Adolescent Research, 14, 289–318.

Garofalo, J., & Kufakwami, M. D. (1992). Mathematics as reasoning. In T. E. Rowan & L. J. Morrow (Eds.), Implementing the K-8 curriculum and evaluation standards: Readings from the Arithmetic Teacher (pp. 16–18). National Council of Teachers for Mathematics.

Goswami, U. (1992). Analogical reasoning in Children. Lawrence Erlbaum.

Gotfredson, L. S. (1997). Why G matters: The complexity of everyday life. Ntelligence, 24,79 –132.

Joyce, B., Weil, M., & Showers, B. (2004). Models of Teaching (5th ed.). Prentice-Hall of India.

Holland, J. H. (1995). Hidden order: How adaptation builds complexity. Helix Books/Addison-Wesley.

Kauffman, S. (1996). The search for Laws of self-organization and complexity. Oxford University Press.

Kavanagh, M. (1990). Moral emotions, moral Ideals, moral education [Doctoral dissertation]. University of Alberta.

Kubiszym, T., & Borich, G. D. (1987). Educational Testing and Measurement (2nd ed.). Foresman.

McInerney, D. M. (2014). Educational psychology constructing learning (6th ed.). Pearson Australia.

Nitko, A. J., & Brookhart, S. M. (2011). Educational Assessment of Students. Pearson/Allyn & Bacon.

Piaget, J. (2001). The Psychology of intelligence. Routledge.

Robbins, J. K. (2011). Problem solving, reasoning, and analytical thinking in a classroom environment. The Behavior Analyst Today, 12(1), 41–48.

Sadler, T. D. (2004). Socioscientific Issue Research and Its Relevance for Science Education. www.eric.ed.gov

Schunk, D. H. (2012). Learning Theories. An Education Perspective (6th ed.). Allyn & Bacon.

Sternberg, R. J. (2003). Four alternative futures for education in the United State: It's our choice. School Psychology Quarterly, 18(4), 431–445.

Vygotsky, L. (1978). Mind and Societ. In The Development of higher psychological process. Edited by Michael Cole, Vera John-Steiner, Sylvia Scribner, and Ellen Souberman. Haward University Press.

Whitney, D. R., & Sabers, D. L. (1970). Improving Essay Examinations III, Use of Item Analysis,Technical Bulletin II, University Evaluation and Examination Service. The University of Lowa.

Zohar, A., & Nemet, F. (2002). Fostering Students’ Knowledge and Argumentation Skills through Dilemmas in Human Genetics. Journal of Research in Science Teaching, 39(1), 35–62.

Paungmalit, P. (2016). Desired characteristics of law students in training experience. Suan Dusit University. (in Thai)