การสร้างแบบทดสอบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) สร้างแบบทดสอบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบทดสอบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ (3) วิเคราะห์ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์) สำนักงานเขตบางเขน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นข้อสอบแบบสร้างคำตอบจำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติจาก (1) ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (2) ค่าความเที่ยง (3) ค่าความยาก (4) ค่าอำนาจจำแนก และวิเคราะห์ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์จากสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการสร้างแบบทดสอบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นข้อสอบแบบสร้างคำตอบจำนวน 15 ข้อ ที่มีการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่า ข้อสอบทุกข้อวัดแนวคิดการเชื่อมโยงของสมาคมครูคณิตศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (National Council of Teachers of Mathematics, 2000) ใน 3 มาตรฐานได้แก่ (1) ระลึกและใช้การเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดต่าง ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 5 ข้อ (2) เข้าใจถึงการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ว่าเชื่อมโยงกันได้อย่างไรและนำความรู้ที่มีไปสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับเรื่องเดิมจำนวน 5 ข้อ และ (3) ระลึกและประยุกต์ใช้วิชาคณิตศาสตร์ในบริบทอื่นที่นอกเหนือจากในวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 5 ข้อ
2. ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบทดสอบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า แบบทดสอบทั้งฉบับมีความตรงเชิงเนื้อหาผ่านเกณฑ์ทุกข้อและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.764 ซึ่งถือว่ามีความเที่ยงค่อนข้างสูงและผ่านเกณฑ์ และข้อสอบจำนวน 15 ข้อ มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.444 ถึง 0.840 และอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง -0.037 ถึง 0.867
3. ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 100 คน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 32.25 คะแนน จากคะแนนเต็ม 52 คะแนน และเมื่อพิจารณาผลการประเมินความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ คือ มีคะแนนตั้งแต่ 26 คะแนนขึ้นไป หรือสูงกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 73.00 ขณะที่นักเรียนที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ คือ มีคะแนนต่ำกว่า 26 คะแนนลงไป หรือต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 27.00
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Avsar, A.S & Tavsancil, E. (2017). Examination of Polytomous Item’ Psychometric Properties According to Nonparametric Item Response Theory Models in Different Test Conditions. Educational sciences: theory & practice. https://www.researchgate.net/publication/312147279
Jenkins, D. (2020). Comparing Dichotomous and Polytomous Item Using Item Response Trees. Part of the industrial and Organizational Psychology Commons. https://corescholar.libraries.wright.edu/etd_all
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and Standards for school Mathematics. National Council of Teachers of Mathematics. www.nctm.org
Amornrattanasak, S. (2011). Research Methodology: Principles of Practice. Center for Academic Promotion Publishing. (in Thai)
Chuchuaysuwan, A. (2009). A Development of Mathematical Connection Ability Test for Mathayomsuksa V Students [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. (in Thai)
Chuetawat, C. (2020). A Study of Mathematical Connection Ability on Conic Section for Mathayomsuksa v Students via Stem Education [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. (in Thai)
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). Manual for using the mathematics subject group curriculum (revised edition 2017) according to the Basic Education Core Curriculum 2008. https://www.scimath.org/ebook-mathematics/item/8378-2560-2551 (in Thai)
Jangsiripornpakorn, A. (2007). Educational measurement and evaluation. Chulalongkorn University. (in Thai)
Kanjanawasee, S. (2013). Classical Test Theory (4th ed.). Chulalongkorn University. (in Thai)
Koonkaew, A. (2022). Test New approaches to measurement and evaluation of education. Chulalongkorn University. (in Thai)
Kritkharuehart, S. (2021). Achievement Test Constructions. Ramkhamhaeng University. (in Thai)
Makanong, A. (2016). Mathematical skills and processes: Development for development (3th ed.). Chulalongkorn University. (in Thai)
Ministry of Education. (2017). Indicators and core learning content for the mathematics learning group (revised edition 2017) according to the Basic Education Core Curriculum 2008. Pollen Cooperative Publishing House of Thailand Co., Ltd. (in Thai)
Panthamit, D. (2017). Construction of Mathematical Connection Ability Test for Grade 6 Students [Master’s thesis]. Chiang Mai University. (in Thai)
Paramutthakorn, L. (2013). Development of Mathematical Knowledge and Connection Ability of Grade Five Students by Organizing Mathematica Learning Activities Based on Mui Tip Intelligence Theory [Master’s thesis]. Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52618 (in Thai)
Ritjaroon, P. (2021) Learning measurement and evaluation techniques. Chulalongkorn University. (in Thai)