ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองตามแนวคิดอภิปัญญาการเรียนรู้แบบร่วมมือและทฤษฎีการรู้คิดทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)เปรียบเทียบจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดอภิปัญญา การเรียนรู้แบบร่วมมือ และทฤษฎีการรู้คิดทางสังคม 2)เปรียบเทียบจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ การวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการตามแบบแผนของกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา 2) การร่างและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3)การศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการดำเนินการวิจัยระยะที่ 3 ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาประสิทธิผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 และ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 4(รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน และ 36 คน ตามลำดับ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลการวิจัย ได้แก่ 1)แบบวัดจิตสำนึก จำนวน 25 ข้อ และ 2) แบบประเมินความสามารถกำกับตนเอง จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t - test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-way MANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ มีจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ มีจิตสำนึกและความสามารถกำกับตนเองหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman and Company.
Coon, D., & Mitterer, J. O. (2010). Psychology: A Journey (4th ed.). Cengage Learning.
Eaude, T. (2011). Thinking Through Pedagogy for Primary and Early Years. Learning Matters Ltd.
Hartman, H. J. (2001). Metacognition in Learning and Instruction: Theory, Research and Practice. Kluwer Academic Publishers.
Leighton, M. S. (2012). Cooperative learning. In J. M. Cooper (Ed.), Classroom teaching skills (p. 255-296). Cengage Learning.
Moilanen, K. L. (2007). The Adolescent Self-Regulatory Inventory: The Development and Validation of a Questionnaire of Short-Term and Long-Term Self-Regulation, Journal of Youth and Adolescence, 36, 835-848.
Zimmerman, B. J. (1990). Self-regulated learning and academic achievement: An overview. Educational Psychologist, 25(1), 3-17. https://doi.org/10.1207/s15326985ep2501_2
Office of Academic and Educational Standards. (2017). Guidelines for learning management according to the basic education core curriculum, 2008. Agricultural Cooperative Association Printing Press. (In Thai)
Wattanasiritham, P., & Sanjorn, S. (2000). Desirable Thai Consciousness. Foundation for Rural Reconstruction of Thailand. (In Thai)