การวิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการเขียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการเขียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่จาก 5 โรงเรียน จำนวน 860 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage random sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียน ชนิดอัตนัย จำนวน 1 ข้อ ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมินความสามารถในการเขียนทั้ง 5 องค์ประกอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus 7.4
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของความสามารถในการเขียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านการนำเสนอเนื้อหา (2) ด้านการเรียบเรียงเรื่องราว (3) ด้านการใช้คำศัพท์ (4) ด้านการใช้ภาษา และ (5) ด้านกลไกทางภาษา และผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวัดความสามารถ ในการเขียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไคสแควร์ ( ) มีค่าเท่ากับมีค่าเท่ากับ 66.046 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 61 ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.307 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (CFI) เท่ากับ 0.984 ค่าดัชนี TLI เท่ากับ 0.980 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.010 และค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.025 โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุด คือ องค์ประกอบด้านการนำเสนอเนื้อหา (0.828, R2=0.686) รองลงมาคือองค์ประกอบด้านการใช้ภาษา (0.569, R2=0.324) รองลงมาคือองค์ประกอบด้านกลไกทางภาษา (0.555, R2=0.308) รองลงมาคือองค์ประกอบด้านการเรียบเรียงเรื่องราว (0.519, R2=0.269) และองค์ประกอบด้านการใช้คำศัพท์ (0.248, R2=0.062) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Ampa, A., & Quraisy, H. (2018). Needs Analysis of the English Writing Skill as the Base to Design the Learning Materials. SHS Web of Conferences. 42. 00050.
Byrne, D. (1988). Teaching Writing Skills New Edition. Longman.
Fisher, R. A. (1954). Statistical Methods for Research Workers (12th ed). Hafner.
Hosseini, H., Chalak, A., & Biria, R. (2019). Impact of Backward Design on Improving Iranian Advanced Learners’ Writing Ability: Teachers’ Practices and Beliefs. International Journal of Instruction, 12(2), 34.
Jacobs, H. J., Zingraf, S. A., Wormuth, D. R., Hartfiel, V. F., & Hughey, J. B. (1981). Testing ESL composition: A practical approach. Newbury House.
Khatib, M., & Meihami, H. (2015). Languaging and writing skill: The effect of collaborative writing on EFL students’ writing performance. Advances in Language and Literary Studies, 6(1), 203-211.
Khoshsima, H. (2016). The Effect of Virtual Language Learning Method on Writing Ability of Iranian Intermediate EFL Learners. Advances in Language and Literary Studies, 7(2), 192.
Lieber, R. (2009). Introduction Morphology. Cambridge University Press.
Lunenburg, F.C., & Lunenburg, M.R. (2014). Applying Multiple Intelligences in the Classroom: A Fresh Look at Teaching Writing. International journal of scholarly academic intellectual diversity, 16(1).
Mercer, C.D., & Pullen, P.C. (2005). Students with learning disabilities. Pearson Prentice Hall.
Patel, M.F., & Jain, P.M. (2008). English Language Teaching: Methods, Tools, and Technique. Sunrise Publisher and Distributors.
Paulston, C.B., & Bruder, M.N. (1976). Teaching English as a Second Language: Technique and Processes. Wintrop.
Pek, L.S., Mee, R.W.M., Shing, S.R., Theesmas, D., & Nadarajan, N.-T.M. (2019). Strengthening Tertiary Students Writing Skills Through T.R.E.N.D. Model. Asian Journal of Contemporary Education, 3(1), 65–71. https://doi.org/10.18488/journal.137.2019.31.65.71
Aksaranugraha, S. (1989). Teaching language and cultural skills. Department of Secondary Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai)
Chinnawongs, S. (2000). Language competence and writing ability. Journal of Chula Research, 7, 9-11. (in Thai)
Damrongpanit, S. (2020). Mplus program with behavioral science research data analysis and social science. Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Intachai, S. (2016). The development of paragraph writing ability of first-year students at Nakhon Ratchasima Rajabhat University via video-assisted instruction [Research report]. Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)
Laksanasiri, C., & Imsamran, B. (2005). Language and Community. P. Press. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission. (2008). Indicators and core content Group learning Thai according to The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Printing Agriculture Cooperatives of Thailand. (in Thai)
Piyapimonsit, C. (2005). Using SPSS for Data Analysis (Revised edition No.5). Faculty of Education, Thaksin University. (in Thai)
Puapan, S. (1989). A Level of English Writing Ability of Students at The Upper Secondary Education Level [Master’s thesis]. Chulalongkorn University. (in Thai)
Rueangkitchanan, A. (2016). Development of an Instructional Model by Integrating Cognitive Apprenticeship Approach and Process Writing Approach for Enhancing Expository Writing Ability and Reflective Thinking Ability of Undergraduate Students [Doctoral dissertation]. Chulalongkorn University. (in Thai)
Sarajun, N. (2017). Developing The Narrative Writing Abilities of Matthayomsuksa 4 Students Using Hewins’ Writing Process [Master’s thesis]. Mahasarakham University. (in Thai)
Satjapiboon, S. (2010). Development of an Instructional model by Integrating Process-based, Content-based and Genre-based Approach for Enhancing Academic Writing and Critical Thinking Ability of Undergraduate Students [Doctoral dissertation]. Chulalongkorn University. (in Thai)
Somnam, S. (2016). Organizing activities to develop Thai language skills. Thanapon printing. (in Thai)
Suwannapracha, K. (2013). Using Group Investigation Based on Local Content to Promote Knowledge, English Writing Ability and Group Working Skills Among Mathayom Suksa 4 Students [Master’s thesis]. Chiang Mai University. (in Thai)
Wasi, P. (1999). Importance of Writing. In Writing for Life: Techniques for Successful Writing. 9-17. Thai Center for Development Foundation. (in Thai)