การพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและประเมินผลภายในเพื่อการบริหารจัดการแผนงาน/โครงการสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การติดตามและประเมินผล (monitoring and evaluation: M&E) นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ การบริหารจัดการโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการติดตามและประเมินผลให้กับผู้ประเมิน ผู้รับผิดชอบแผนงาน/โครงการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ และ (2) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและประเมินผลภายใน ให้กับโครงการภายใต้แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพด้านการติดตามและประเมินผลภายใน แบ่งการดำเนินการวิจัย ออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรก การเตรียมการก่อนการพัฒนาศักยภาพฯ โดยทำการคัดเลือกโครงการที่จะเข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ ปีงบประมาณ 2563 - 2564 จำนวน 11 โครงการ รวมจำนวนผู้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ ทั้งสิ้น 49 คน ระยะที่ 2 การดำเนินการพัฒนาศักยภาพด้านการติดตามและประเมินผล จำนวน 4 หลักสูตรย่อย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีจำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพฯ (2) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (3) แบบประเมินความสามารถในการทำงานที่มอบหมาย ระดับปัจเจก และ (4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานที่มอบหมาย ระดับกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย และ ระยะที่ 3 การดำเนินการหลังการพัฒนาศักยภาพฯ โดยการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ จำนวน 3 กลุ่ม โดยสมาชิกในแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการ และผู้ทำหน้าที่ประเมินภายใน รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่รหัสข้อมูลต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นประเด็นหลัก และตีความข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ มีค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในการติดตามและประเมินผลภายใน ภายหลังเข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ สูงขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ ทุกประเด็น สำหรับความสามารถในการทำงานที่มอบหมาย ในระดับปัจเจก พบว่า มีผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการทำงานที่มอบหมาย จำนวน 37 คน (76.40%) และในระดับกลุ่ม พบว่า มีกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการทำงานที่มอบหมาย จำนวน 7 กลุ่ม (63.63%) สำหรับระบบและกลไกสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและประเมินผลภายใน ประกอบด้วย (1) การคัดเลือกโครงการและผู้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ (2) การมีเอกสารประกอบการพัฒนาศักยภาพที่ (3) การมีกลุ่มแชท (4) การมีที่ปรึกษาประจำกลุ่มและติดตามความก้าวหน้าเชิงรุก และ (5) การลงพื้นที่ ทั้งนี้ ระบบและกลไกสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและประเมินผลภายในนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ ความสามารถในการเป็นนักประเมินระดับปฏิบัติการ การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการโครงการ และการติดตั้งระบบติดตามและประเมินผลภายใน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
American Evaluation Association. (2018). AEA Evaluator Competencies. https://www.eval.org/About/Competencies-Standards/AEA-Evaluator-Competencies
Barrington, G.V. & Triana-Tremain, B. (2023). Evaluation time: A practical guide for evaluation. Sage.
Creswell, J.W., & Guetterman, T.C. (2019). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research (6th ed.). Pearson.
Creswell, J.W., & Poth, C.N. (2018). Qualitative inquiry & Research design: Choosing among five approaches (4th ed.). Sage.
Kelly, L.M., & Rogers, A. (2022). Internal evaluation in non-profit organizations: Practitioner perspectives on theory, research, and practice. Routledge.
Kerins, J., Smith, S.E., Stirling, S.A., Wakeling, J., & Tallentire, V.R. (2021). Transfer of training from an internal medicine boot camp to the workplace: Enhancing and hindering factors. BMC Medical Education, 21,1-12. https://doi.org/10.1186/s12909-021-02911-5
Kirkpatrick, D.L. & Kirkpatrick, J.D. (2006). Evaluating training programs: The four levels (4th ed.). Berrett-Koehler.
Love, A.J. (1991). Internal evaluation: Building organizations from within. Sage.
Morra Imas, L.G., & Rist, R.C. (2009). The road to results: Designing and conducting effective development evaluations. The World Bank.
Vignoli, M. & Depolo, M. (2019). Transfer of training process. When proactive personality matters? A three-wave investigation of proactive personality as a trigger of the transfer of training process. Personality and Individual Differences, 141, 62 – 67. https://doi.org/10.1016/j.paid.2018.12.027
Jiawiwatkul, A. (2014). Happy Workplace Reader’s Digest Book 6. P.A. Living Co., Ltd. (in Thai)
Kunwittaya, S., & Mapaisalsrap, L. (2014). Happy Workplace Reader’s Digest Book 3. P.A. Living Co., Ltd.. (in Thai)
Un-ob, P. (eds.). (2021). Internal evaluation: A tool for learning and development of Health Promotion Programs. P.A. Living Co., Ltd. (in Thai)
Un-ob, P., Prapasuchat, N., Wisartsakul, W., & Siriwong, S. (2022). Internal evaluation-focused capacity development approach for the task force working in strategic operation to empower network members and leaders of specific populations with unique needs and contexts (2561 – 2563 B.E.) Thai Health Promotion Foundation. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 28(1), 175 – 187.