การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกัน (DIF) ของข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี MIMIC โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Mplus จำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 ในโรงเรียนสังกัดจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 689 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ จำนวน 54 ข้อ ประกอบด้วย ความรู้ด้านเนื้อหา 3 เรื่อง ได้แก่ ระบบทางกายภาพ จำนวน 18 ข้อ ระบบสิ่งมีชีวิต จำนวน 18 ข้อ และระบบของโลกและอวกาศ จำนวน 18 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า
1.การสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ จำนวน 54 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 ถึง 1 เมื่อพิจารณาคุณภาพของข้อสอบผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 45 ข้อ
1.1 คุณภาพข้อสอบของแบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory: CTT) พบว่า มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.92
1.2 คุณภาพข้อสอบของแบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) โดยใช้โมเดลโลจีสติกแบบ 2 พารามิเตอร์ (two-parameter model) พบว่า ค่าความยากของข้อสอบ (b-parameter) มีค่าตั้งแต่ -0.537 ถึง 4.000 และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a-parameter) มีค่าตั้งแต่ 0.313 ถึง 1.382
2.การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกัน (DIF) ของข้อสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 45 ข้อ ด้วยวิธี MIMIC โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Mplus จำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย มีโอกาสตอบถูกมากกว่าเพศหญิง จำนวน 18 ข้อ และเพศหญิงมีโอกาสตอบถูกมากกว่าเพศชาย จำนวน 7 ข้อ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Ahman, S.J., & Glock, M.D. (1967). Evaluating Pupil Growth Principle of Tests and Measurement (3rd Ed.). Allyn & Bacon.
Le, L. T. (2009). Investigating Gender Differential Item Functioning Across Countries and Test Languages for PISA Science Items. International Journal of Testing, 9(2), 122-133.
Maier, N. R. F., & Casselman, G. G. (1970). Locating the difficulty in insight problems: Individual and sex differences. Psychological Rep, 26, 103-107.
Chantawan, S. (2019). Development of Mathematics Reasoning Abilities Assessment for Matthayomsueksa 5 Students in Kalasin Province [Maste’s thesis]. Mahasarakham University. (in Thai)
Kanjanawasee, S. (2012). Modern Test Theories (4th Ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Ministry of Education. (2009). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008), Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. Agricultural Co-operative Association of Thailand Company Limited. (in Thai)
Phatthiyathani, S. (2008). Educational measurement (6th Ed.). Prasarn Press. (in Thai)
Phatthiyathani, S. (2010). Educational measurement (7th Ed.). Prasarn Press. (in Thai)
Saiyot, L., & Saiyot, A. (2000). Learning Measurement Techniques (2nd Ed). Suweerivasarn Press. (in Thai)
Srisa-ard, B. (2010). Preliminary Research (8th Ed). Suweerivasarn Press. (in Thai)
Sukaek, P. (2017). Detecting Differential Item Functioning Using Multiple Indicators and Multiple Causes (MIMIC) [Maste’s thesis]. Prince of Songkla University. (in Thai)
Sumlertrum, Y. (2015). The Construction of a Science Academic Achievement Test at the Matthayom Sueksa One Level as Based on the Programme for International Student Assessment (PISA). Journal of Hunamities and Social Sciences Surin Rajabhat University, 19(2), 21-34. (in Thai)
Thanakhwang, T. (2010). Construction of creative thinking test in mathematics for Prathom Suksa 4 students [Maste’s thesis]. Chiang Mai University. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017a). PISA 2015 Assessment Framework. Aroonkarnpim Press. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017b). Summary of preliminary data PISA 2015. Aroonkarnpim Press. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). PISA 2015 results Snapshot of performance in science, reading and mathematics. Success Publication Company Limited. (in Thai)
Weerasin, N. (2018). Construction of numerical creative thinking test for vocational students 1 at Intrachai Commercial College of Vocational Education Commission [Maste’s thesis]. Burapha University. (in Thai)
Worakham, P. (2015). Educational research (7th Ed.). Takkasila press. (in Thai)