การประเมินหลักสูตรแบบ CIPPI Model : การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยประเมินผลโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบยึดการตัดสินใจ CIPPI model ของ Stufflebeam กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจำนวน 113 คน ประกอบไปด้วย นิสิต อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน มหาบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยของประชากร () ค่าความแปรปรวนของประชากร (
) และการวิเคราะห์เนื้อหา มีผลการวิจัยจำแนกตามองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้
1) ด้านสภาวะแวดล้อม (context) สภาวะแวดล้อมในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบพบว่าด้านวัตถุประสงค์หลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสม ระดับมาก ส่วนในด้านสาระรายวิชามีความเหมาะสมมากที่สุด แต่บางรายวิชามีความซ้ำซ้อนในเนื้อหาจึงควรปรับลดความซ้ำซ้อนของบางรายวิชาที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันและพิจารณาปรับปรุงรายวิชาให้ตรงหรือสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสถานการณ์ปัจจุบัน
2) ด้านปัจจัยนำเข้า (input) ปัจจัยนำเข้าในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบ พบว่าด้านการรับนิสิตและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มีความเหมาะสมระดับมาก ส่วนในด้านอาจารย์มีความเหมาะสมมากที่สุด มีข้อเสนอแนะสำหรับบางองค์ประกอบย่อย ได้แก่ ควรเพิ่มการแนะนำ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ต่างๆด้านการศึกษา การทำวิจัยวิทยานิพนธ์และระบบงานอินเทอร์เน็ต
3) ด้านกระบวนการ (process) กระบวนการในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบ พบว่าด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีความเหมาะสมระดับมาก ส่วนในด้านการทำวิทยานิพนธ์มีความเหมาะสมมากที่สุด มีข้อเสนอแนะคือควรมีการจัดโครงการพัฒนานิสิตด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่นิสิตศึกษาในหลักสูตร
4) ด้านผลผลิต (product) ผลผลิตในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบ พบว่าคุณลักษณะของบัณฑิตด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเหมาะสมระดับมาก ส่วนในด้านความรู้ ความเข้าใจในวิชาชีพและวิชาเอก ด้านทักษะทางปัญญาและด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และความสามารถในการวิจัย มีความเหมาะสมมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรได้รับการยอมรับว่าสามารถผลิตบัณฑิตได้เป็นอย่างดี
5) ด้านผลกระทบ (impact) กระทบในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตในทุกองค์ประกอบระดับมากที่สุด มีข้อเสนอแนะคือหลักสูตรควรให้ความสำคัญกับประเด็นเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านแนวทางการพัฒนาวิชาชีพให้กับนิสิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. Jossey - Bass.
Booncherdchoo, S. L., Leetho, M., Atthanuphan, C., Komsan, T., Pechkoom, O., & Songsombat, T. (2017). The Curriculum Evaluation on Bachelor Degree of Education Program in Early Childhood Education Faculty of Education, Silpakorn University. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(3), 557-572. (in Thai)
Chittranun, T., & Wicharapote, J. (2015). An Evaluation of the Master Degree Program in Educational Administration (Revised 2011), Faculty of Education, Mahasarakham University by CIPP Model. Journal of Administration and Development Mahasarakham University, 7(1), 95-108. (in Thai)
Jarasrawewas, S., Tongson, P., Prommas, J., Kitipanusun, R., Chompu, W., & Paksripang, P. (2020). An Evaluation of the Master of Education Program in Curriculum and Instruction (Revised A.D.2016), Faculty of Education, Burapha University. HRD Journal, 11(2), 8-17. (in Thai)
Koolnaphadol, P., Wongteeratorn, D., Srichunnil, C., & Inang, P. (2020). The Evaluation Research of Doctor of Philosophy Curriculum in Counseling Psychology Faculty of Education Burapha University. Journal of Education Research, 15(2),133-143. (in Thai)
Nillapun, M. (2012). The Evaluation of Master of Education Program in Curriculum and Supervision Faculty of Education Silpakorn University. Silpakorn Educational Research Journal, 4(2), 25-40. (in Thai)
Nillapun, M., Sirisumpun, O., Chatiwat, W., Po-ngern, W., & Markjooy, A. (2018). The Curriculum Evaluation on Doctoral of Philosophy Program in Curriculum and Instruction, Faculty of Education. Silpakorn University Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 1199 -1214. (in Thai)
Paiwithayasiritham, C. (2007). A Development of the Curriculum Evaluation Model: An Application of a Meta-evaluation [Doctoral dissertation]. Srinakharinwirot University (in Thai)
Prewnim, A. (2018). The Curriculum Evaluation of Bachelor of Nursing Science Program, Bangkok Thonburi University in Accordance with the Standard Criteria of National Higher Education with CIPPI Model. Journal of Nursing and Health Suan Sunandha Rajabhat University, 1(2), 90-110. (in Thai)
Srisa-ard, B. (2010). Introduction to Research (8th Ed.). Suweerivasarn. (in Thai)
Unaromlert, T., Paiwithayasiritham, C., Weeranawin, L., & Sukjairungwattana, T. (2016). Curriculum Evaluation of Doctor of Philosophy in Development Education, Faculty of Education. Silpakorn University. Veridian E-Journal Silpakorn University, 9(3), 489-506. (in Thai)