การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีลำดับขั้นของคุณลักษณะ และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 283 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบวินิจฉัยการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบสอบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 สถานการณ์ สถานการณ์ละ 4 คำถามย่อย รวม 32 ข้อ โดยคำถามย่อยที่ 1 วัดคุณลักษณะ การระบุประเด็นทางคณิตศาสตร์ของปัญหาในชีวิตจริง คำถามย่อยที่ 2 วัดคุณลักษณะการแปลงปัญหาให้อยู่ในรูปของภาษาทางคณิตศาสตร์ คำถามย่อยที่ 3 วัดคุณลักษณะการใช้หลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในการแก้ปัญหา และคำถามย่อยที่ 4 วัดคุณลักษณะการตีความ การประยุกต์ใช้และการประเมินผลลัพธ์ ทางคณิตศาสตร์ และ 2) การศึกษาโดยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ พบว่าแบบทดสอบมีค่าอำนาจจำแนก 0.44 ถึง 3.23 ค่าความยาก -1.88 ถึง 1.50 และค่าโอกาสในการเดา 0.00 ถึง 0.31 แบบสอบที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square = 334.770, p = 0.918, GFI = 0.931, AGFI = 0.902, RMSEA = 0.000) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าตั้งแต่ 0.763 ถึง 0.842 แสดงว่าแบบทดสอบสามารถวินิจฉัยแบบแผนความรอบรู้และข้อบกพร่องเกี่ยวกับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของผู้ตอบ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Gierl, M. J., Alves, C. and Taylor-Majeau, R. (2010). Using the Attribute Hierarchy Method to make diagnostic inferences about examinees' skills in mathematics An operational implementation of cognitive diagnostic assessment. International Journal of Testing, 10, 318-341.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. Pearson Education.
Hox, J. J. (2010). Multilevel analysis: Techniques and applications. Routledge.
Leighton, J. P., Gierl, M. J., & Hunka, S. M. (2004). The attribute hierarchy method for cognitive assessment: A variation on Tatsuoka's rule-space approach. Journal of Educational Measurement, 41(3), 205-237.
Steiger, J. H. (2007). Understanding the limitations of global fit assessment in structural equation modeling. Personality and Individual Differences, 42, 893-898.
Tatsuoka, K. K., (1983). Rule space: An approach for dealing misconception based on item response theory. Journal of Educational Measurement, 20, 345-354.
Kanjanawasee, S. (2013). Classical test theory (7th ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Kanjanawasee, S. (2020). Modern test theories (5th ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)
PISA Thailand IPST. (2014). PISA 2012 Results: Science, Reading and Mathematics. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (in Thai)
PISA Thailand IPST. (2018). PISA 2015 Results: Science, Reading and Mathematics. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (in Thai)
Susheva, S. (1995). The Development of diagnostic method for detecting mathematical misconception [Doctoral Dissertation]. Chulalongkorn University. (in Thai)
TDRI. (2010). 21st Century Skills Rethinking How students learn. [online]. Available from: http://www.tdri.or.th, Cited in The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2015). Mathematics education at School-Level in Thailand: The Development-Impact-Current recession. (in Thai)