อิทธิพลของการตอบตามความปรารถนาของสังคมที่มีผลต่อคุณภาพแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ณัฏฐ์ บัวผัน
นุชวนา เหลืองอังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลการตอบแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่างกัน และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นก่อนและหลังการตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ 25 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 787 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 33 ข้อ และ 2) แบบวัดคุณลักษณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การตอบตามความปรารถนาของสังคม โดยกลุ่มวิจัย AREASIG มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า จำนวน 35 ข้อ ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory: CTT) โดยการวิเคราะห์ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาจากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ความตรงเชิงโครงสร้าง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) 3) ค่าอำนาจจำแนกโดยการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการคะแนนรายข้อและคะแนนรวม (item-total correlation) 3) ค่าความเที่ยงโดยวิธีตรวจสอบความสอดคล้องภายในด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha method) และตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) แบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ความรับผิดชอบต่อสถานศึกษา และความรับผิดชอบต่อชุมชน มีคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา จากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีค่าเท่ากับ 1.00 และความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า Chi-Square=38.727 df = 29 P-Value = 0.1070 RMSEA = 0.035 SRMR = 0.021 CFI = 0.995 TLI = 0.991 ค่าอำนาจจำแนกโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างคะแนนรายข้อและคะแนนรวมมีค่าระหว่าง 0.238 ถึง 0.653 และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความเที่ยงโดยวิธีการสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.947 การตรวจสอบคุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) มีค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (gif.latex?\alphai) อยู่ระหว่าง 0.30 -1.96 และค่าพารามิเตอร์ เทรสโฮลด์ของแต่ละรายการคำตอบ (gif.latex?\betaij) มีค่าเรียงลำดับโดยสูงขึ้นตามลำดับ
2) ผลการตอบแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคม ได้จำแนกตามกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่างกัน พบว่า กลุ่มผู้สอบที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดคือกลุ่ม SDR5 เท่ากับ 82.74 และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบต่อสังคมต่ำที่สุดคือ กลุ่มผู้สอบ SDR1 เท่ากับ 71.98 และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการตอบของกลุ่มผู้สอบทั้ง 5 กลุ่มโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติ one-way ANOVA พบว่าทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นก่อนและหลังการตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม พบว่าคุณภาพตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CCT) ค่าอำนาจจำแนกก่อนตัด SDR มีค่าระหว่าง .227-.584 และหลังตัด SDR มีค่าสูงขึ้นโดยอยู่ระหว่าง .305-.611 ค่าความเที่ยงก่อนตัดและหลังตัด .865 และ .861ตามลำดับ คุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถาม (gif.latex?\alphai) ที่มีค่าสูงกว่า 0.65 ก่อนตัด มีจำนวน 27 ข้อและหลังตัดมีจำนวน 28 ข้อ และค่าพารามิเตอร์เทรสโฮลด์ (threshold) ของแต่ละรายการคำตอบ (gif.latex?\betai) พบว่า ก่อนตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม ข้อสอบที่มีค่า gif.latex?\beta1 และ gif.latex?\beta2 กระจายทั้งทางบวกและลบ จำนวน 7 ข้อ และหลังตัดมีจำนวน 8 ข้อ ทั้งนี้ข้อสอบทุกข้อทั้งก่อนตัดและหลังตัดกลุ่มผู้ที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม มีค่า gif.latex?\beta1 และ gif.latex?\beta2 สูงขึ้นตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hinkle, D. E., Wiersma, W., & Jurs, S. G. (1998). Applied Statistics for Behavioral Sciences (4th ed.). Rand McNally College Publishing.

Arunmala, P. (2019). The Effects of Using a Virtue Ethics Scale with Socially Desirable Responding Scale of Lower Secondary School Students [Master’s Thesis]. Khon Kaen University. (in Thai)

Juntawarn, S. (2013). Development of a Socially Desirable Responding Scale of Thai Undergraduate Students [Doctoral dissertation]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43653. (in Thai)

Kanjanawasee, S. (2013). Classical Test Theory (7th ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Nathomthong, W. (2013). The development of Thai language achievement test for grade 10 accordance to core basic education B.E. 2551. [Master’s Thesis]. Silpakorn University. (in Thai)

Sangsin, S. (2008). Roles of Family and Educational Institution in Developingment Students’ s Social Responsibility Behaviors [Master’s Thesis]. Khon Kaen University. (in Thai)

Sirivunnabood, P. (2010). Developmental Psychology Theory (5th ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Srichom, P. (2014). Comparison of Effects of Measurement Methods on Mental Health Scale Derived from Social Desirability Responses: An Application of CEUL and CEML [Master’s Thesis]. Chulalongkorn University. (in Thai)

Srisuk, K. (2009). Research Methodology (3th ed.). Krongchang Printing. (in Thai)

Sukonthabopit, S. (2019). World’s Mission for NOW. https://www.creativethailand.org/new/article/trend/32257/en#Worlds-Mission-for-NOW

Wiratchai, N. (1999). LISREL Model: Analytical Statistics for Research (3rd ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Wora-in, C. (2011). Development measurement and evaluation test. http://elearning.psru.ac.th