การประเมินผลการดำเนินโครงการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้น ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

นพพล จันทร์กระจ่างแจ้ง
ปริสลา จี้ฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้น ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อประเมินการปฏิบัติของโครงการเรียนภาษาจีน หลักสูตรระยะสั้น ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้น ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง และวิธีการคัดเลือกแบบโควตา รวมทั้งสิ้น 68 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบไปด้วย 1) ผู้บริหาร 2) อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ 3) ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2559 - 2561 กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ปกครองของผู้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ปกครองของเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2559 – 2561 ใช้วิธีการคัดเลือกแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการ ตามรูปแบบการประเมินของสเตค (Stake) ที่แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์
ผลการวิจัยพบว่า การสรุปผลการประเมินโครงการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้น ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามรูปแบบการประเมินของสเตค (Stake) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 คิดเป็นร้อยละ 86.20 ผลการพิจารณา คือ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 2) ด้านการปฏิบัติ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 คิดเป็นร้อยละ 91.00 ผลการพิจารณา คือ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 3) ด้านผลลัพธ์ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 คิดเป็นร้อยละ 92.80
ผลการพิจารณา คือ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 รวมทั้งผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสภาพจริง พบว่า มีความสอดคล้องกัน โดยผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ทั้งในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านการปฏิบัติ และด้านผลลัพธ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินโครงการมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Academic Service, The Secretariat of the House of Representatives. (2017). China and 21st century superpower. https://library2.parliament.go.th/eajournal/ content_af/2560/apr2560-2.pdf. (in Thai)

Faculty of Education, Bachelor of Education Program in Chinese. (2014). Bachelor of Education Program in Chinese (5 Year) New Curriculum 2014. Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. (in Thai)

Jeangjai, S. (2009). Research Report on Factors Affecting Learning Chinese of International Business: China and Chinese Studies Students at the Faculty of International Studies, PSU, Phuket. https://www.fis.psu.ac.th/en/jis_file/res_project/2010_supachai.pdf. (in Thai)

Kemalangkoon, S & Kulsiri, P. (2013). The study of behavior toward participation AYC intercultural programs Thailand. Srinakharinwirot Business Journal (SBJ), 4(2), 103-119. (in Thai)

Ketusingha, W. (1995). Action research. Thai Watana Panich Co., Ltd. (in Thai)

Mejiang, S. (2015). Education project evaluation: Theory and Practice. Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Ritcharoon, P. (2014). Project evaluation technique. House of Kermyst Co., Ltd. (in Thai)

Songkroekul, S. (2015). Decision factor of youth journey to overseas. [Master’s thesis]. Thammasat University Library. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5707011432_4561_3399.pdf (in Thai)

Sutthirat, C. (2016). 80 Innovative learning for Learner-centered. P Balans Design and Printing Co., Ltd. (in Thai)