การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในรูปแบบต่างๆ ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาแบบโควตา แบบรับตรง และแบบแอดมิชชั่น ของคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ เคมีอุตสาหกรรม จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ฟิสิกส์ประยุกต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสถิติประยุกต์ ที่รับเข้ามาศึกษาในปีการศึกษา 2559 ในลักษณะข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาและผลการเรียนของนักศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่รับเข้ามาศึกษาในปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้น 943 คน ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ เคมีอุตสาหกรรม จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ฟิสิกส์ประยุกต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสถิติประยุกต์ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา และข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเฉพาะของนักศึกษาในช่วงปีการศึกษา 2559 – 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การทดสอบความเป็นอิสระ การทดสอบความแปรปรวน การทดสอบความแปรปรวนด้วยอันดับ ครัสคัลและวอลลิส และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1.นักศึกษาที่รับเข้ามาศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ปีการศึกษา 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 943 คน และ เป็นนักศึกษาที่รับเข้ามาจากระบบแบบโควตามากที่สุด รองลงมาคือระบบแบบรับตรง คิดเป็นร้อยละ 51.01 และ 31.39 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนของนักศึกษาที่ไม่มารายงานตัวคิดเป็นร้อยละ 6.17
2.นักศึกษาที่รับเข้ามาศึกษาด้วยระบบแอดมิชชั่น แบบโควตา และแบบรับตรง จะให้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรไม่แตกต่างกัน และมีค่าความสัมพันธ์ของผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอยู่ที่ 0.404 ถือว่ามีความสัมพันธ์ระดับน้อย
3.ผลการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่รับเข้ามาศึกษาด้วยระบบแบบโควตาจะให้ระดับคะแนนในกลุ่มวิชาภาษาศาสตร์น้อยที่สุด ส่วนนักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ที่รับเข้ามาศึกษาด้วยระบบแบบรับตรงจะให้ระดับคะแนนในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์น้อยที่สุด และนักศึกษาสาขาวิชาสถิติประยุกต์ที่รับเข้ามาศึกษาด้วยระบบแบบโควตาจะให้ระดับคะแนนในกลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ ด้านสถิติ และด้านคอมพิวเตอร์ น้อยที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. Houghton Mifflin.
Kuharatanachai, C., & Sukonthamut, S. (2018). A Comparative Study of Undergraduate Admission Process: Department of Statistics, Faculty of Science, King Mongkuts Institute of Technology Ladkrabang. Journal of Science Ladkrabang, 27(1), 99-114. (in Thai)
Office of the Registrar. (2020). Student Record. http://www.reg.kmitl.ac.th/rule/ index.php
Office of the Registrar. (2020). Unofficial Transcript. http://www.reg.kmitl.ac.th/user/index.php
Pimpanit, S. (2012). Causes of Undergraduate Student Dropouts at Mahasarakham University [Master’s Thesis]. Mahasarakham University. (in Thai)
Siriattakul, P. (2012). One-Way ANOVA: Social Science Research. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 1 (1), 13-23. (in Thai)
Suksudaj, N., Auttapunya, C., Veerapeindee, P., & Sittisart A. (2018). The Relationship Between Admissions Criteria and Academic Performance of Dental Students with Prior Bachelor Degree (“Newtract”) at Thammasat University. Journal of the Dental Association of Thailand, 68(3), 204-217. (in Thai)
Viriyatharakij, N., Thaworn, N., Laothong, C., & Sawasdee, A. (2015). Effectiveness and Efficacy of Undergraduate Student Admission of Physical Therapy Division, Faculty of Health Science, Srinakharinwirot University. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences), 7(14), 42-51. (in Thai)
Wikipedia, The Free Encyclopedia Wikipedia. (2020). University Admission System in Thailand. https://th.wikipedia.org/wiki/ university admission system in Thailand.
Yamsaothong, K. (2012). The Study of the Factors Affecting Achievement of the Undergraduate Students of the Faculty of Architecture, Naresuan University. Art and Architecture Journal Naresuan University, 3(2), 121-129. (in Thai)