การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Main Article Content

อังชรินทร์ ทองปาน
ธนาภรณ์ พันทวี
จิตรลดา บานแบ่ง
ดวงทิพย์ วงศ์นาค
สำเนียง จุลเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อแบบทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563จำนวน 124 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์คุณภาพรายข้อและความเชื่อมั่น ผลการวิจัยพบว่า


1. แบบทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีคุณภาพด้านคุณประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.26, S.D. = 0.75) และมีคุณภาพด้านคุณประโยชน์รายด้าน คือ 1) ความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) ระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.32, S.D.= 0.13) 2) ผลกระทบ (impact) ระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.27, S.D. = 0.64) 3) ความสมจริง (authenticity) ระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.22, S.D. = 0.84) 4) ความเชื่อมั่น (reliability) ระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.19, S.D. = 0.43) 5) การมีปฏิสัมพันธ์ (interactiveness) ระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.18, S.D. = 0.09) และ 6) ความสะดวกใช้ (practicality) ระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.14, S.D.= 0.45)


2. แบบทดสอบปรนัย (ทักษะการอ่าน) จำนวน 2 ชุด โดยชุดที่ 1 ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพทั้งหมดจำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.50-0.76 และสามารถจำแนก ได้ดี (r = 0.49-0.73) โดยมีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.83 และชุดที่ 2 ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพทั้งหมดจำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.54-0.79 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.51-0.87 ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.82 และแบบทดสอบอัตนัย (ทักษะการเขียน) จำนวน 2 ข้อ มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.41-0.60 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26-0.33 และความเชื่อมั่น (Alpha coefficient) เท่ากับ 0.61


3. ในภาพรวม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจต่อแบบทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษ ระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.27, S.D. = 0.70)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (2560). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561), 35. Retrieved from http://plan.reru.ac.th/ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ-ระยะ-20-ปี.

พิมพา สุวรรณฤทธิ์. (2542). การสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียน. กาญจนบุรี: ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษาคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

ศิริพร พงษ์สุรพิพัฒน์ กรองแก้ว กรรณสูต และสุภาณี ชินวงศ์. (2544). ความตรงร่วมสมัย: การเปรียบเทียบคะแนนสอบแบบทดสอบสมิทธิภาพทั่วไปทางภาษาอังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-TEP) กับคะแนนแบบทดสอบ TOEFL. สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารภาษาปริทัศน์, 19 , 32-48.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2532). การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบทดสอบอิงปริเฉทภาษาอังกฤษสาหรับใช้กับนักศึกษาไทยในระดับต่างๆ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bachman, Lyle F. & Palmer, A. S. (1996). Language Testing in Practice: Designing and Developing Useful Language Tests. Oxford: Oxford University Press.

Brown, H. D. (2004). Language Assessment: Principles and Classroom Practices. New York: Pearson Education, Inc.

Council of Europe. (2003). Common European Framework of Reference for Languages: Learning, Teaching, and Assessment. Retrieved from http://www.coe.int/t/dg4/linguistic/Source/Framework_EN.pdf.

Genesee, & Fred & Upshur, J. A. (1996). Classroom-Based Evaluation in Second Language Education. Cambridge: Cambridge University Press.

IELTS. (2015). Information for Candidates. Retrieved from http://takeielts.britishcouncil.org/sites/default/files/Information%20for%20Candidates.pdf

Ivanova, V. (2011). Construction and Evaluation of Achievement Tests in English. Retrieved from http://scigems.math.bas.bg/jspui/bitstream/10525/1554/1/adismay-2011-276-285p.pdf

Chen, J. (2011). Language Assessment: Its Development and Future-An Interview with Lyle F. Bachman. Language Assessment Quarterly, 8(3), 277-290.

Samaie, & Mahmoud. (2014). Achievement Test Development and Validation: A Measure of Reading Comprehension Strategies for Iranian Learners of English. International Journal of Linguistics, 6 (2), 12-22.

Valette, R. M. & R.S. Disick. (1972). Modern Language Performance Object and Individualization. NewYork: Harcort Brace.

Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.