รูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์

Main Article Content

สมศรีพิศุทธิ์ ไกรอภัยวงษ์
นวมินทร์ ประชานันท์
โกวิท วัชรินทรางกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) ประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์  วิธีดำเนินการวิจัยการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) ประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ครูระดับปฐมวัย จำนวน 6 คน ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 12 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้นำชุมชน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน จากโรงเรียนดีเด่นที่ได้รับรางวัลพระราชทานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง โรงเรียนบ้านหนองการะโก และโรงเรียนอนุบาลลำปลายมาศ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 4 ชุด การสังเกตและแบบประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้


1. องค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบไปด้วย 8 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเมตตากรุณา ความมีวินัย การประหยัดและออม ความกตัญญู ความพอเพียง การมีมารยาท และการมีจิตอาสา


2. การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย มี 2 ประเภท ได้แก่ ลักษณะการมีส่วนร่วมและกระบวนการมีส่วนร่วม โดยลักษณะการมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางตรงและการมีส่วนร่วมทางอ้อม ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การร่วมระดมความคิดและการวางแผน การร่วมลงมือปฏิบัติ  การร่วมติดตามประเมินผล และการร่วมรับผลประโยชน์


3. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยลักษณะการมีส่วนร่วมทางตรงมากกว่าการมีส่วนร่วมทางอ้อม ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วมระดมความคิดและ การวางแผน พบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การร่วมลงมือปฏิบัติ การร่วมติดตามประเมินผล และ การร่วมรับผลประโยชน์ ตามลำดับ


4. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน โดยพิจารณาตรวจสอบยืนยันด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสมและด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544). ครูกับการศึกษา. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

เฉลา บ้วนหลี. (2558 ). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นายิกา จันทร์ยิหวา. (2560). รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขันพืนฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 51-70.

นัยนา นาคะสิงห์. (2554). โครงการดูงานโรงเรียนในฝัน. ยะลา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2.

นวนละออง หงษ์ภู. (2552). การพัฒนาแบบวัดคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. สาขาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาสน์.

ปิยนันท์ แซ่จิว. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กร ปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย.วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัยมหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พระสมุห์ประสิทธิ์ ปสิทฺธิโก (แสนด้วง). (2560). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บุ๊คพลอยท์

วิมลลักษณ์ ตีระมาศวณิช. (2558). แนวดำเนินการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณทิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สิริมาศ กาญจนโอภาส. (2557). การสร้างกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การพัฒนารูปแบบสมัชชาการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน.กรุงเทพฯ : สกายบล็อกและการพิมพ์.

สำรวย เรืองศรีมั่น. (2557). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมเด็กปฐมวัย. วิทยานพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

Erikson, W.(1996).Participation Management: Concepts, Theory and Implementation. Atlanta, GA :Georgia State University.

Office of the Non-Formal and Informal Education (NFE). (2014). 12 core values of Thai people according to the NCPO policy. Available from: https://www.moe.go.th/ moe/th/news/detail.php. (Accessed 14 October 2019).