การสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันนท์
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นเป็นนิสิตชาย 316 คน และ นิสิตหญิง 155 คน รวมทั้งสิ้น 471 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ดัดแปลงแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายแบบง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทยแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย AAHPER แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ (ICSPFT) และ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ (I.C.P.F.R) จำนวน 12 รายการ คือ ยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที แรงบีบมือ แรงเหยียดขา ยืนกระโดดไกล วิ่งอ้อมหลัก นั่งงอตัวไปข้างหน้า วิ่งเก็บของ ลุก-นั่ง 30 วินาที ขว้างลูกซอฟท์บอล วิ่ง 50 เมตร นอนแอ่นหลัง และ ดันพื้น 1 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพ ทางกายเพื่อสุขภาพโดยใช้ค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ และ คะแนนที (T-score) ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะของนิสิตทั้งชายและหญิงโดยเฉลี่ยอยู่ในทุกเกณฑ์การประเมินและได้เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะตามวัตถุประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.

จตุรงค์ เหมรา. (2560). หลักการและการปฏิบัติ: การทดสอบสมรรถภาพทางกาย. ลำปาง : สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

แชล่ม บุญลุ่ม. (2550). รายงานผลการวิจัย การสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง ภาคปกติที่กำลังศึกษาอยู่ระหว่างชั้นปีที่ 1-4. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี.

นิเทศสุขกิจ ทัพซ้าย. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(2), 128-140.

นําโชค บัวดวง น้อม สังข์ทอง และ กิตติธัช คงชะวัน. (2556). สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปี ที 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 8(23), 75-90.

รังสรรค์ อักษรชาติ อภิชัย มุสิกทอง จิรภัทร ตันติทวีกุล และ ประดิษฐ์ พยุงวงศ์. (2555). การศึกษาทางกายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัยคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

วรวุฒิ สวัสดิชัย. (2551). สมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. กรุงเทพ ฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สิงหา ตุลยกุล. (2557). การสร้างเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(2), 104-118.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2556). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนไทย อายุ 19-59 ปี : สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560) การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนาม กีฬาฟุตบอล-ฟุตซอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562) แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19 – 59. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา.

อำนาจ สร้อยทอง และ ชาญยุทธ สุดทองคง. (2558). การประเมินสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา จังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(3), 60-67.

Dyrstad, S.M., Soltvedt, R., & Hallen, J. (2006). Physical fitness and training during Norwegian Military Service. Military Medicine, 171, 736-741.

Napradit, P., and Pantaewa, P. (2009). Physical fitness and Anthropometric Characteristics of Royal Thai Army Personnel. Journal of the Medical Association of Thailand, 92(1), 16-21.

Pedro C. Hallal, Cesar G. Victora, Mario R. Azevedo and Jonathan C.K. Wells. (2006). Adolescent Physical Activity and Health (A Systematic Review). Sports Med, 36(12), 1019-1030.