การสังเคราะห์งานวิจัยการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

สรัญญา จันทร์ชูสกุล
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินคุณภาพงานวิจัยการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อค่าดัชนีมาตรฐานคุณภาพเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับมัธยมศึกษา และ 3) สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับมัธยมศึกษา งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์อภิมานมีจำนวน 92 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัย พบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 82.61) และมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 17.39)


2. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าดัชนีมาตรฐานคุณภาพเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ระดับมัธยมศึกษา พบว่า


2.1 คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าดัชนีมาตรฐานความเที่ยง มีจำนวน 11 ตัวแปร ได้แก่ ประเภทสถาบันที่ผลิตงานวิจัย, สถาบันที่ผลิตงานวิจัย, สาขาที่ผลิตงานวิจัย, เพศของผู้วิจัย, ภูมิภาค, ระดับชั้นของตัวอย่าง, ประเภทของเครื่องมือวัด, จำนวนตัวเลือก/เกณฑ์, การตรวจให้คะแนน, จำนวนข้อคำถามในแต่ละฉบับ และวิธีการเลือกตัวอย่าง


2.2 คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าดัชนีมาตรฐานความตรง คือ เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


2.3 คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าดัชนีมาตรฐานความยาก มีจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ปีที่พิมพ์งานวิจัย, ประเภทงานวิจัย, การสร้างเครื่องมือวัด ประเภทของเครื่องมือวัด จำนวนตัวเลือก/เกณฑ์ และวิธีการเลือกตัวอย่าง


2.4 คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าดัชนีมาตรฐานอำนาจจำแนก มีจำนวน 10 ตัวแปร ได้แก่ ปีที่พิมพ์งานวิจัย, ประเภทสถาบันที่ผลิตงานวิจัย, สถาบันที่ผลิตงานวิจัย, สาขาที่ผลิตงานวิจัย, เพศของผู้วิจัย, ภูมิภาค, ระดับชั้นของตัวอย่าง, ประเภทของเครื่องมือวัด, จำนวนข้อคำถามในแต่ละฉบับ และจำนวนผู้สอบในแต่ละฉบับ


3. ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ พบว่า ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือในแต่ละสมรรถนะมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างของประเภทเครื่องมือที่ใช้วัด และเกณฑ์การให้คะแนน โดยแบ่งประเภทเครื่องมือได้ 4 กลุ่มคือ 1) มาตรประมาณค่า 2) แบบวัดเชิงสถานการณ์ 3) แบบสอบหลายตัวเลือก และ 4) แบบสอบอัตนัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ เภสัชชา. (2560). การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, คณะครุศาสตร์, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา.

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2544). การวิเคราะห์อภิมานคุณภาพของแบบสอบหลายตัวเลือกที่มีรูปแบบของแบบสอบ บริบทของแบบสอบ และวิธีการตรวจให้คะแนนต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา (Development and validation of research instruments: Psychometric properties). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2550). ทำวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ: ความคลาดเคลื่อนในการทำงานวิจัยทางการศึกษา.ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการกระบวนการวิจัยกับการพัฒนาทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: บริษัท เฮ้าส์ ออฟเครอ์มิสท์ จำกัด.

ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม. (2551). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามทฤษฎีของสโตลซ์ระหว่างมาตรประมาณค่ากับแบบวัดชนิดสถานการณ์ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ. (2557). การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 120-126.

วัยญา ยิ้มยวน. (2547). การวิเคราะห์อภิมานของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.

ศศิธร เวียงอินทร์. (2547). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุชาดา ยอดสุรางค์. (2552). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา.

สุวิมล เสวกสุริยวงศ์. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภาพรรณ ประทุมไทย. (2553). การวิเคราะห์อภิมานคุณภาพของแบบวัดความถนัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

Cheng, K-M. (2017). Advancing 21st century competencies in East Asian education systems. [Online]. Available from: https://asiasociety.org/files/21st-century-competencies-east-asian-education-systems.pdf[2019, Jun 11]

Cheng, K-M., Jackson, L. & Lee, W. (2017). Advancing 21st century competencies in Hong Kong.[Online]. Available from: https://asiasociety.org/files/21st-century-competencies-hong-kong.pdf[2019, Jun 11]

Greenstein, L. (2012). Assessing 21st century skills: A guide to evaluating mastery and authentic learning. Thousand Oaks, CA, US: Corwin Press.

Metiri Group. (2003). enGauge 21stcentury skills for 21st century learners.[Online]. Available from :https://www.cwasd.k12.wi.us/highschl/newsfile1062_1.pdf[2019, Jun 11]

Miller, D., Linn, R & Gronlund, N. (2009). Measurement and Assessment in Teaching. 10th ed. Upper Saddle River, NJ : Pearson

Ministry of Education, Singapore. (2018). 21st century competencies.[Online]. Available from: https://www.moe.gov.sg/education/education-system/21st-century-competencies[2019, Jun 11]

Nitko, A. J. & Brookhart, S. M. (2007). Educational assessment of students. 5th ed. Upper Saddle NJ: Pearson Education.

Partnership for 21st Century Learning. (2019). Framework for 21st century learning definitions.[Online]. Available from: http://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_DefinitionsBFK.pdf[2019, Jun 11]

Reynolds, C., Livingston, R., and Willson, V. (2009). Measurement and assessment in education. 2nd ed. Boston: Pearson.

World Health Organization. (1997). Life Skills Education for Children and Adolescents in School. Geneva: World Health Organization.