การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียนของครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของครูด้านเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ความรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และทักษะด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การศึกษา ครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ การวิจัยระยะที่ 1 ใช้การวิจัยเชิงบรรยาย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูในโรงเรียน 4 สังกัด ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 564 คน ใช้แบบสอบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครู และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค modified priority needs index (PNImodified) ส่วนการวิจัยระยะที่ 2 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อขยายผลในเชิงลึกเพื่อให้การตอบคำถามมีความชัดเจนและสมบูรณ์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตัวอย่างวิจัย จำนวน 8 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของครูเกี่ยวกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโยงการเรียนรู้ พบว่า ความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่ครูต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านความรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน รองลงมา คือ ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านเจตคติต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครู พบว่า ความรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ครูต้องการพัฒนา ได้แก่ ความรู้ด้านการออกแบบนวัตกรรม/สิ่งทดลอง/ตัวแทรกแซง ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและความรู้ด้านการกำหนดปัญหาวิจัย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
ณัฐมน สุชัยรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นนทกาญจน์ จันทร์เฮง. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2559). การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม: กรณีศึกษาหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับกลางของการประปานครหลวง. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 23(2), 175-211.
วิลาสิณี ทองสมนึก. (2554). ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้องสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ชัย พนารัตน์. (2550). การพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านผือพิทยาสรรค์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (รายงานการวิจัย). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ).
สุจิกา เทพสถิต. (2553). ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุวิมล ว่องวาณิช, สวนีย์ วีระพันธุ์ และพนิดา มารุ่งเรือง. (2555). มโนทัศน์ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554, สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
Bai, L., Millwater, J., & Hudson, P. (2014). Chinese TEFL teachers’ perceptions about research and influences on their research endeavours. Teacher Development, 18(3), 349-368.
Blume, B. D., Ford, J. K., Baldwin, T. T., & Huang, J. L. (2010). Transfer of training: A meta-analytic review. Journal of Management, 36(4), 1065-1105.
Borg, S. (2010). Language teacher research engagement. Lang. Teach., 43(4), 391-429.
Borrell-Damian, L., Morais, R., & Smith, J. H. (2014). University-business collaborative research: goals, outcomes and new assessment tools. The EUIMA Collaborative Research Project Report. Brussels: Belgium.
Chen, H., Holton III, E. F., & Bates, R. A. (2006). Situational and demographic influences on transfer system characteristics in organization. Performance Improvement Quarterly, 19(3), 7-25.
Datnow, A. (2000). Power and Politics in the Adoption of School Reform Models. Educational Evaluation and Policy Analysis, 22(4), 357-374.
Farrell, M. P. (2003). Collaborative circles: Friendship dynamics and creative work. Chicago: University of Chicago Press.
Grossman, R., & Salas, E. (2011). The transfer of training: What really matters. International Journal of Training and Development, 15(2), 103-120.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 10th ed. NJ: Pearson Education Inc.
Harland, J., & Kinder, K. (2006). Teachers’ Continuing Professional Development: framing a model of outcomes. Journal of In-Service Education, 23, 37–41.
Ismail, R., & Meerah, T. S. M. (2012). Evaluating the Research Competencies of Doctoral Students. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 59, 244-247.
Kennedy, A. (2005). Models of Continuing Professional Development: a framework for analysis. Journal of In-Service Education, 31, 235-250.
Obaid, T. F., Alias, R. B., & Isa, A. A. B. M. (2016). Role of training transfer and post-training on job performance in middle eastern countries: Case of Palestine. Journal of Global Business and Social Entrepreneurship, 1(2), 77-87.
Saks, A. M., & Burke, L. A. (2012). An investigation into the relationship between training evaluation and the transfer of training. International Journal of Training and Development, 16(2), 118-127.
Taber, K. S. (2013). Action Research and the Academy: seeking to legitimise a ‘different’ form of research. An international journal of teachers’ professional development (Vol. 17, pp. 288-300): Routledge.
Velzen, J. H. V. (2013). Educational Researchers and Practicality. American Educational Research Journal, 50, 789-811.
Yuan, R., Sun, P., & Teng, L. (2016). Understanding Language Teachers’ Motivations Towards Research. TESOL Quarterly, 50(1), 220-234.