การวิเคราะห์อภิมานเครือข่ายของวิธีการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน

Main Article Content

วรัญญู ฉายาบรรณ์
ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์
สรวีย์ ศิริพิลา
สุขุมาลย์ หนกหลัง
ณัฐพล อนันต์ธนสาร
ศิริปรียา ใจบุญมา
ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลในภาพรวมและความผันแปรของขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยคัดเลือกตัวอย่างงานวิจัยตามหลักการ PICO และ PRISMA ได้งานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 20 งาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์ตัวแปรปรับ และการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ขนาดอิทธิพลในภาพรวมของวิธีการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 0.63 2) ขนาดอิทธิพลของวิธีสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จากแต่ละงานที่ศึกษามีความแตกต่างกัน (heterogeneity) ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Q(30)=164.62, p < .001, I2 = 79.43%) 3) คุณลักษณะของงานวิจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ พื้นที่ที่ศึกษา และการควบคุมตัวแปรปรับ 4) ผลการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย พบว่า ขนาดอิทธิพลของวิธีการสอนแบบถ่ายโยง (transfer) มีค่าสูงที่สุด ส่วนขนาดอิทธิพลค่าน้อยที่สุด คือ วิธีการสอนแบบโปรแกรมเทคโนโลยี (program technology)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติพร สังขรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้จากตัวแบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพงษ์ กอสวัสดิ์พัฒน์. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ตามการสืบสอบแบบแนะแนวทางร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยวดี ฆายะนานนท์. (2554). ผลของการฝึกการอนุมานสาเหตุตามหลักธรรมเรื่องความเพียรที่มีต่อความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภลักษณ์ ครุฑคง. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธี IMPROVE และการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสุณี สุทธิจักษ์. (2551). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การตั้งปัญหาเสริมกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรีรัศน์ ผลขวัญโชติกา. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตสาสตร์โดนใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4E x 2 ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา บ้านกล้วย. (2556). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่องการวัด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวรัตน์ รามแก้ว. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การสืบสอบแบบแนะแนวทางที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัยรัตน์ ยศแผ่น. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรญา อัญโย. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชนา กลิ่นเทียน. (2553). ผลของการมอบหมายบทบาทในการเรียนแบบแก้ปัญหาด้วยสถานการณ์จาลองบนเว็บที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีระดับเชาวน์ปัญญาด้านตรรกะทางคณิตศาสตร์ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิสริยา ปรมัตถากร. (2556). การพัฒนาความรู้และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cipriani, A. (2016). What have network meta-analyses taught us about treatment of mood disorder: is it time to revisit the hierarchy of evidence?. Retrieved December 20, 2018, from https://ora.ox.ac.uk/objects/uuid:a71052d0-87a2-4c5c-b082-fcc6dfd683dd.

Clark, T. (2017). The K-12 service-learning standards and fourth grade students' math achievement: A quasi-experimental study in georgia (Order No. 10743197). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (2009417844). https://search.proquest.com/docview/ 2009417844?accountid=15637

Del Re, A. C. (2015). A practical tutorial on conducting meta-analysis in r. The Quantitative Methods for Psychology, 11(1), 37-50. http://doi.org/10.20982/tqmp.11.1p037

Eyyam, R., & Yaratan, H. S. (2014). Impact of use of technology in mathematics lessons on student achievement and attitudes. Social Behavior and Personality: an international journal, 42(1), 31S-42S.

Faber, J. M., Luyten, H., & Visscher, A. J. (2017). The effects of a digital formative assessment tool on mathematics achievement and student motivation: Results of a randomized experiment. Computers & education, 106, 83-96. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2016.12.001

Hailikari, T., Nevgi, A., & Komulainen, E. (2008). Academic self‐beliefs and prior knowledge as predictors of student achievement in Mathematics: A structural model. Educational psychology, 28(1), 59-71.

Hawkins, C. (2015). Instantaneous teacher feedback to improve student math achievement of 4th grade student: A quasi-experimental design of a classroom math intervention (Master's thesis).

Henderson, A. T. & Mapp, K. L. (2002). A new wave of evidence: The impact of school, family, and community connections on student achievement. Washington, DC. Southwest Educational Development Lab.

Hofmann, R. & Mercer, N. (2016). Teacher interventions in small group work in secondary mathematics and science lessons. Language and Education, 30:5, 400-416, http://doi.org/10.1080/ 09500782.2015.1125363

Jeynes, W. H. (2019). A meta-analysis on the relationship between character education and student achievement and behavioral outcomes. Education and Urban Society, 51(1), 33-71, http://doi.org/10.1177/0013124517747681.

Kebritchi, M., Hirumi, A., & Bai, H. (2010). The effects of modern mathematics computer games on mathematics achievement and class motivation. Computers & education, 55(2), 427-443. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2010.02.007

Lai, Y. H. (2019). A network meta-analysis on the effects of information and communication technology on students’ learning achievementin Taiwan. EURASIA Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 15(3). http://doi.org/10.29333/ejmste/102846

Lockhart-Findling, M. (2016). The relationship between two types of teacher professional development and head start student math outcomes (Order No. 10157900). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (1837406975). https://search.proquest.com /docview/ 1837406975?accountid=15637

Mcknight, K., O’Malley, K., Ruzic, R., Horsley, M. K., Franey, J. J., & Bassett, K. (2016). Teaching in a digital age: How educators use technology to improve student learning. Journal of Research on Technology in Education, 48(3), 194-211. http://doi.org/10.1080/15391523.2016.1175856.

OECD. (2016). Equations and Inequalities: Making Mathematics Accessible to All. Retrieved April 20, 2020, from https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/9789264258495-en.pdf?expires=1587371901&id=id&accname=guest&checksum=DD6F8AB7D4B3932B57ACA4EB4C2AADB3

OECD. (2017). How does PISA for Development measure mathematical literacy?. Retrieved December 20, 2018, from https://www.oecd.org/pisa/aboutpisa/9-How-PISA-D-measures-math-literacy.pdf

Pilli, O., & Aksu, M. (2013). The effects of computer-assisted instruction on the achievement, attitudes and retention of fourth grade mathematics students in North Cyprus. Computers & Education, 62, 62-71.

Sarrell, D. M. (2014). The effects of reflex math as a response to intervention strategy to improve math automaticity among male and female at-risk middle school students (Order No. 3632484). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (1570196386). https://search.proquest.com/docview/1570196386?accountid=15637.

Scott, S. M. (2014). The effects of math tutoring sessions for parents on eighth grade students' mathematics achievement and anxiety (Order No. 3619094). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (1530479624). https://search.proquest.com/ docview/1530479624?accountid=15637.

Throndike, E. L. (1913). Educational psychology: Vol.2. The psychology of learning. New York: Columbia University Press.

Yilmaz, B. (2017). Effects of Adaptive Learning Technologies on Math Achievement: A Quantitative Study of ALEKS Math Software (Doctoral dissertation, University of Missouri--Kansas City).