โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษาของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษาของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในการสอนและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์เป็นแบบมาตรประมาณค่า 7 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษาประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ 2) ด้านความคาดหวังในความพยายาม 3) ด้านอิทธิพลทางสังคม 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ความตั้งใจแสดงพฤติกรรม และ 6) พฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งแต่ละปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษา
2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) = 84.25, df = 73, ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์(CMIN/df) = 1.15 ค่าดัชนี GFI = 0.98, AGFI = 0.95 และค่าดัชนี SRMR = 0.04, RMSEA = 0.02 ซึ่งตัวแปรในโมเดลทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษาได้ร้อยละ 85 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษา ได้แก่ สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก และความตั้งใจแสดงพฤติกรรม ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการศึกษา ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม และอิทธิพลของสังคม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กรรณิการ์ คงทอง. (2561). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
กอบเกียรติ สระอุบล และ พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2557). สื่อการสอนช่วยลดภาระทางปัญญาสำหรับการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 6(1), 198-207.
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และ อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 23-28.
เขมณัฐ ภูกองไชย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำวิจัยของอาจารย์ประจำสาขา. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาวิทยาลัยราชภัฏ, 13(2), 117-205.
จักรพันธ์ ศรียุกต์นิรันดร์ และนริศรา ภาควิธี. (2560). อิทธิพลเชิงสาเหตุของประเภทผู้บริโภคเป็นตัวแปรกำกับ และการขยายทฤษฎีรวมของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี 2 (UTAUT กรณีศึกษาผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 43 - 55.
จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.scimath.org/article-technology/item/7755-ar-augmented-reality [สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563 ]
นนท์ชนิตร อาชวพร. (2557). อัตลักษณ์ครูเชิงสร้งสรรค์นวัตกรรมสำหรรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู : การประเมินความต้องการจำเป็น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ ปริยวาทิต. (2558). ผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร. วารสารวิทยบริการ, 27(1), 9 – 17.
พิมพันธุ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2555). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง.ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ). เพื่อความเป็นเลิศของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พีรณัฐ ฤกษ์ศุภสมพล และนายเมธิชัย อรัญชราธร. (2560). การพัฒนาเออาร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบจัดวางเครื่องเรือนภายในห้อง. ปริญญานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาลาดกระบัง.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) ชุดการจมและการลอย. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 41(181), 28 - 31. [ออนไลน์].ได้จาก http://emagazine.ipst.ac.th [สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562 ]
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น.
วิริยาภรณ์ เตชะกฤตธีรพงศ์ และ ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง. (2558). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน ของบุคลากรในองค์การ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดา วิจิตรคุณากร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้การบริการบอกตำแหน่ง บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 10(2), 62 - 84.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ สุทธิวรรณ และ ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 330 - 345.
สุวิภา แสงพันธุ์ตา และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรกระทรวงแรงงาน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 4(1), 75-77.
สุเมธ ราชประชุม. (2561). เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. [ออนไลน์]. ได้จาก http://theced-digital.blogspot.com/2018/06/augmented-reality-technology-ar.html [สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562]
Awadhi, S.A. & Morris, A. (2008). The Use of the UTAUT Model in the Adoption of E-government Services in Kuwait. 41st. Hawaii International Conference on System Sciences, 1530 - 1605.
Boonsiritomachai, W. & Pitchayadejanant. K. (2019). Determinants affecting mobile banking adoption by generation Y based on the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology Model modified by the Technology Acceptance Model concept. Kasetsart Journal of Social Sciences,1-10. [Online]. Available from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2452315117301601 [accessed 14 March 2020].
Brata, A. H. & Amalia. F. (2018). Impact Analysis of Social Influence Factor on Using Free Blogs as Learning Media for Driving Teaching Motivational Factor. Proceedings of the 4th International Conference on Frontiers of Educational Technologies. June 2018.29-33.
Brown, S. A., Dennis, A. R., & Venkatesh, V. (2010). Predicting Collaboration Technology Use: Integrating Technology Adoption and Collaboration Research. Journal of Management Information Systems, 27(2), 9–54.
Chan, F. T. S., Yee-Loong Chong, A., & Zhou, L. (2012). An empirical investigation of factors affecting e-collaboration diffusion in SMEs. International Journal of Production Economics, 138, 329–344.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P. & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35 (8), 982–1003.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (ed. 7th). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. (ed 3 rd). New York: The Guilford Press.
Oliveira, T., Faria, M., Thomas, M. A., & Popovic, A. (2014). Extending the understanding of mobile banking adoption: When UTAUT meets TTF and ITM. International Journal of Information Management, 34(5), 689–703.
Tay, L., & Jebb, A. (2017). Scale Development. In S. Rogelberg (Ed), The SAGE encyclopedia of industrial and organizational psychology, (ed 2nd). Thousand Oaks, CA: Sage.
Tzima, S., Styliaras, G. & Bassounas, A. (2019). Augmented Reality Applications in Education: Teachers Point of View. Journal of Education Sciences, 99(9), 1-18.
Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS quarterly, 27(3), 425–478.
Venkatesh, V., L. Thong, J. Y., & Xu, X. (2012). Consumer acceptance and use of information technology extending the unified theory of acceptance and use of technology. MIS Quarterly, 36(1), 157–178.
Wolf, E. J., Harrington, K. M., Clark, S. L., & Miller, M. W. (2013). Sample size requirements for structural equation models: An evaluation of power, bias, and solution propriety. Educational and psychological measurement, 73(6), 913-934.