การพัฒนาข้อสอบสำหรับคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบบวัด ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษา หลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ

Main Article Content

จิราภรณ์ มีสง่า
กมลวรรณ ตังธนกานนท์
โชติกา ภาษีผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา 2) เพื่อพัฒนาข้อสอบสำหรับคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์ของแบบวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 1,014 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลค่าดัชนี deviance (G2) ค่า AIC BIC ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก และค่าพารามิเตอร์ความยาก ผลการวิจัย พบว่า


1. โมเดลการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา ประกอบด้วย 4 โมเดล ได้แก่ โมเดลการวัดทักษะทางปัญญา โมเดลการวัดทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โมเดลการวัดทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และโมเดลการวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างเบื้องต้นของโมเดลการวัดมีความเหมาะสม


2. ข้อสอบสำหรับคลังข้อสอบอิเล็กทรอนิกส์ของแบบวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา เป็นข้อสอบเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีจำนวนทั้งหมด 279 ข้อ ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบรายข้อตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ พบว่า โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ 2 พารามิเตอร์ เป็นโมเดลที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลคำตอบของแบบวัดมากที่สุด
ข้อสอบมีค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์ความยากเท่ากับ 0.069 และค่าเฉลี่ยพารามิเตอร์อำนาจจำแนกเท่ากับ 0.862 สรุปในภาพรวมได้ว่าข้อสอบเป็นข้อสอบที่ยากปานกลางและจำแนกได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 1-12.

โชติกา ภาษีผล. (2561). รายงานผลการวิจัยเรื่องระบบการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการวัดทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์ และคณะ. (2561). การพัฒนาแบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 176-190.

ตรีคม พรมบุญ. (2561). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะครูยุคใหม่สำหรับนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์: การประยุกต์ใช้การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 138-151.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2559). นโยบายการผลิตครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2562, ได้จาก: https://www.รักครู.com/7097/.

เพชรรัตน์ สายนำพามีลาภ, อ้อมจิตร แป้นศรี และสำราญ มีแจ้ง. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูคุณภาพในยุคปฏิรูปการศึกษาตามการรับรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20 (1), 61-72.

วิไลลักษณ์ ลังกา. (2560). อนาคตภาพของคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11 (1), 36-50.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส. วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2539). “การประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมงาน”, สารพัฒนาหลักสูตร, 15(126), 41-43.

สุเทพ ธรรมะตระกูล และอนุวัติ คูณแก้ว. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของครูยุคใหม่. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และ สังคมศาสตร์. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2563). ดาวน์โหลดสถิติอุดมศึกษา นักศึกษารวม. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563, ได้จาก: http://www.info.mua.go.th/info/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework) : กรณีศึกษากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สกศ.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching and assessing: A revision of Bloom’s Taxonomy. New York: Longman.

Baker. F. B., & Kim, S. H. (2017). The basics of item response theory using R. New York: Springer.

de la Torre, J. (2009). Improving the quality of ability estimates through multidimensional scoring and incorporation of ancillary variables. Applied Psychological Measurement, 33(6), 465-485.

de la Torre, J., & Patz, R. J. (2005). Making the most of what we have: A practical application of multidimensional item response theory in test scoring. Journal of Educational and Behavioral Statistics, 30(3), 295–311.

Downing, S. M., & Haladyna, T. M. (2006). Handbook of test development. MahWah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Embretson, S. E., & Reise, S. P. (2000). Item Response Theory for Psychologists. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Wingersky, M. S., & Lord, F. M. (1984). An investigation of methods for reducing sampling error in certain IRT procedures. Retrieved October 2, 2018, from https://conservancy.umn.edu/bitstream/handle/11299/101951/1/v08n3p347.pdf.