ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2

Main Article Content

อัษฎา พลอยโสภณ
สมยศ เผือดจันทึก

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการเขียนรายงานการศึกษาเป็นรายกรณี ในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู 2) แบบประเมินคุณภาพรายงานการศึกษาเป็นรายกรณี  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน 4) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent sample


           ผลการวิจัยมีดังนี้


           1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู เท่ากับ 85.29/82.35 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80


           2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          3. นักศึกษาที่เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน สามารถเขียนรายงานการศึกษารายกรณีได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 17-24 คะแนน


           4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ระดับมาก (  gif.latex?\bar{x}= 4.26, S.D. = 0.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน (เทคโนโลยีการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

เบญจพร บุญสยมภู. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้กรณีศึกษาแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. [ออนไลน์]. ได้จาก https://human.tru.ac.th. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562].

ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา.วารสารวิจัย ราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2) : 260-270.

พรศิริ พันธสี. (2552). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้ กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 24(3) : 81-93.

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 65-71.

มารศรี จันทร์ดีและคณะ. (2557). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในกระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(4) : 137-155.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). Case Method 101. กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2561). ต้อนรับวันครู ผลสำรวจชี้ “เด็กไทย ต้องการความรักก่อนความรู้” คาดหวังให้ครูเป็นที่พึ่ง เหตุพ่อแม่ไม่มีเวลาให้. [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.qlf.or.th. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10พฤษภาคม 2561].

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). 21 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

Williams B. (2018). Case based learning—a review of the literature: is there scope for this educational paradigm in prehospital education. [On-line]. Available from: https://emj.bmj.com/Emerg. [accessed 10 May 2018].