การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลการวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่าง 1 เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis : EFA) จำนวน 847 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่าง 2 เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 1,241 คน ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis: CFA) ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 60 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า โมเดลเชิงโครงสร้างมีความความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ค่าไคสแควร์ (x2) = 1602.43, = 1531, p = 0.0645, = 0.958, = 0.950, = 0.999, = 0.0356, = 0.00669 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การถามและตั้งข้อสงสัย มีความสนใจใฝ่รู้ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพยายามให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ การมีความยืดหยุ่นในการคิด การมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การย้อนคิดเกี่ยวกับความคิดของตน การมีความมุ่งมั่น และมีความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ เท่ากับ 0.923, 0.918, 0.913, 0.908, 0.907, 0.778, 0.733 และ 0.564ตามลำดับ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก https://math.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2015/PDF/Curriculum%202551.pdf
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2555) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การคิดขั้นสูงและจิตนิสัยของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.
พงศธร มหาวิจิตร และสุนทรีย์ ปาลวัฒน์ชัย. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารปัญญา ภิวัฒน์, 10(1) ประจำเดือนมกราคม – เมษายน.
วิทยา นาควัชระ. (2545). คนนิสัยดี. กรุงเทพฯ : บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิสชิ่ง จำกัด (มหาชน).
วรรณี โสมประยูร. (2541). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนและสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ระดับ ประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก https://www.scimath.org/e-books/8379/8379.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ROADMAP จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อการ ขับเคลื่อนหลักสูตรการจัดการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) : ฉบับ สรุป. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560, จาก http : //www.onec.go.th/onec_adminitstrator /uploads/Book/698-file.pdf
สุรางค์ โคว์ตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อุษณีย์ โพธิสุข. (2537). การพัฒนาความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็กและเยาวชน. หน้า 32 – 53. กรุงเทพมหานคร.
Common Core State Standards Initiative. (2010). Common Core State Standards in Mathematics. Retrieved Desember 2, 2017, from https://www.corestandards.org /Math/Practice.
Covey, Stephen R. (2004). The 7 Habits of Hightly Effective People. New York : Simon and Schuster.
Costa, A.L. & Kallick, B. (2000). Discoverring and Exploring Habits of mind. Alexandia, VA : Assosiation for A supervision and curriculum Devenlopment.
Cuoco, A., Goldenberg, E.P., and Mark, J. (1996). Habits of mind: An organizing principle for a mathematics curriculum. Journal of Mathematical Behavior, 15 (4), 375-402. from https://www2.edc.org/cme/showcase/HabitsOfMind.pdf.
Cuoco, A., Goldenberg, E. P., & Mark, J. (2010). Contemporary curriculum issues: Organizing a curriculum around mathematical habits of mind. Mathematics Teacher, 103(9), 682- 688.
Driscoll, M., DiMatteo, R. W., Nikula, J. E., & Egan, M. (2007). Fostering geometric Thinking :
A guide for teachers grades 5-10. Portsmouth, NH : Heinemann.
Goldenberg, E. P., Shteingold, N., & Feurzeig, N. (2003). Mathematical habits of mind form young children. In F. K. Lester & R. I. Charles (Eds.), Teaching mathematics through problem solving: Prekindergarten - Grade 6 (pp. 15- 29). Reston, VA : National Council of Teachers of Mathematics.
Hair, J. F., Black,W. C.,Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 10th ed. NJ: Pearson Education inc.
Hull, T., Balka, Don, & Miles, R. H. (2012). Mathematical thinking and reasoning : Achieving the process standards. Texas Mathematics Teacher, 59 (2), 15-18.
Levasseur, K., & Cuoco, A. (2003). Mathematical habits of mind. In H. L. Schoen (Ed.), Teaching mathematics through problem solving: Grade 6-12 (pp. 23-37). Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.
Lim, K. A Collection of Lists of Mathematical habits of Mind. (2013). from https://math. utep.edu/Faculty/kienlim/HoM_Collection.pdf
Marzano, R. J. (1992). A different kind of classroom: Teaching with Dimensions of Learning. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston, VA: Author.
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2009). Focus in High School Mathematics: Reasoning and Sense Making. Reston, VA: Author.
RAND Mathematics Study Panel. (2003). Mathematical proficiency for all students: Toward a strategic research and development program in mathematics education. Santa Monica, CA: RAND Corporation MR-1643.0-OERI.
Seaman, C. E., & Szydlik, J. E. (2007). Mathematical sophistication among preservice elementary teachers. Journal of Mathematics Teacher Education, 10, 167-182.
Seeley, C. L. (2014). Smarter Than We Think: More Messages About Math. USA : Scholastic.
Texas Education Agency (2012). Texas Administrative Code (TAC), Title 19, Part II Chapter 111. Texas Essential Knowledge and Skills for Mathematics. From https://ritter. tea.state.tx.us/rules/tac/chapter111/index.html.